ENIGMAcoustics จาก M1 ถึงโมเดล AP2
Chapter 1 ปฐมบท แห่ง ENIGMAcoustics
นับหลายทศวรรษมาแล้วที่มีการค้นคว้าลำโพงขึ้นมาใช้งานตามจุดประสงค์ของดีไซน์ คือการขยายเสียงในแต่ละรูปแบบ ลำโพงเป็นหัวใจของระบบเสียงตลอดมา จากโรงภาพยนตร์ สตูดิโอ งานพีเอ กระจายเสียงกลางแจ้ง และโฮมออดิโอ
ที่ถือว่า ทั้งรูปแบบดีไซน์ และคุณลักษณะมีความหลากหลายที่สุด คือลำโพงที่ใช้งานในห้องฟังเพลง หรือโฮมออดิโอนั่นเอง ลำโพงในกลุ่มออดิโอไฟล์นั้นมีมากกว่าร้อยแบรนด์ และนับพันๆ รุ่น แต่ที่โดดเด่นจริงๆ นั้น กลับไม่ได้มีมากแต่อย่างใด
ลำโพงที่นักฟังเพลงชื่นชอบนั้น ถ้าเราสังเกตจะพบว่า ส่วนใหญ่ย่อมมีบุคลิกโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ยกเว้นลำโพงมอนิเตอร์ ที่มิใช่ลำโพงฟังเพลงทั่วไป ที่จะเน้นความเที่ยงตรงเป็นหลัก ซึ่งแนวทางการออกแบบลำโพงนั้นมีหลากวิธี
ยิ่งนานวัน เทคโนโลยีก็ยิ่งทันสมัย สามารถผสานเอารูปแบบลำโพงมอนิเตอร์ที่ให้เสียงดนตรีเที่ยงตรง กับลำโพงออดิโอไฟล์ที่มีรูปลักษณ์ เฉพาะตัวมาเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งให้มีความสมบูรณ์สูงสุดได้
ขึ้นอยู่กับว่า แนวทางออกแบบดีไซน์ และเทคโนโลยีของใคร จะบรรลุไปถึงเป้าหมายได้ถึงเพียงนั้น คือ สมบูรณ์ในทุกมิติ
ลำโพงที่มีความเป็นมา และดีไซน์ที่น่าประทับใจที่เพิ่งค้นพบล่าสุด ก็คือ ลำโพงจากสำนัก ENIGMAcoustics เพราะเป็นที่ถูกกล่าวขานมากที่สุด และถึงขั้นที่ ผู้นิยมระบบเสียงโฮมออดิโอยกให้เป็น “ลำโพงคู่สุดท้ายในชีวิต” เลยด้วยซ้ำไป
ใช่! อาจจะใหม่ อาจจะยังเพิ่งเป็นที่รู้จักไม่นานนัก แต่นี่คือลำโพงที่ทำให้ทั้งนักฟัง และวิศวกรด้านระบบเสียงควรศึกษา เรียนรู้ถึงความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้ ผลงานที่หลุดทะลุมิติแห่งการออกแบบลำโพงในอดีต
ENIGMAcoustics ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการสรรสร้างผลงานบนรากฐานของความหลงใหลในเสียงดนตรี กลุ่มผู้ก่อตั้งประกอบไปด้วยผู้ที่ชื่นชอบเครื่องเสียง ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการออกแบบเสียงวิศวกรรม และการตลาดมาหลายสิบปี
ผลงานที่ ENIGMA ภาคภูมิใจคือ สิทธิบัตรการออกแบบระบบลำโพง อีเล็คโทรสแตติค self-biased electrostatic (SBESL™) ซึ่งก็คือการสร้างตัวขับเสียงลำโพงที่สร้างจากแผ่นโลหะบางเบา ที่ใช้ polarizing voltage หรือสนามแม่เหล็กเป็นตัวดันแผ่นโลหะให้ลอยอยู่กลางอากาศและเป็นตัวป้อนสัญญาณเสียง แทนการยึดขอบของแผ่นโลหะ และใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกแบบลำโพงริบบอน แบบดั้งเดิม
ทำให้การตอบสนองต่อสัญญาณเสียงเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระ ไม่เกิดความเบี่ยงเบนผิดเพี้ยน หรือ distortion ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า ลำโพงริบบอนแบบดั้งเดิมมาก ทั้งในด้านของสปีดหรือความไวในการส่งผ่านสัญญาณเสียง และความเข้มเสียง ครบถ้วนจริงๆ
ซึ่งในต่อมาได้พัฒนาผลงานจนออกมาเป็น Supertweeter ในรุ่น Sopranino ที่ให้การตอบสนองความถี่สูงไปได้ไกลถึง 40,000 Hz และด้วยคุณภาพอันเป็นที่ประจักษ์ของซูเปอร์ทวีตเตอร์ตัวนี้ ทำให้แบรนด์ ENIGMAcoustics ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และสื่อหลายๆ สำนักถึงขั้นระบุว่า Sopranino คือสิ่งที่จำเป็นในการจัดชุดฟังเพลงใดๆ ก็ตาม
ทำไมเราถึงต้องการความถี่ที่มากยิ่งกว่า 20,000Hz ?
ระบบเครื่องเสียงสามารถตอบสนองความถี่ปลายเสียงแหลมได้เกินกว่า 30,000-40,000Hz มานานแล้ว แต่เราเรียนรู้กันมาจากบทเรียนทางวิทยาศาสตร์ ว่า มนุษย์สามารถรับฟังความถี่ได้เพียง 20,000Hz ?
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็สมควรที่มนุษย์ทุกรูปนามก็สมควรได้ยินความถี่ตามธรรมชาติครบถ้วนแล้ว
แต่…ในความจริง ระบบเสียงที่ตอบสนองความถี่เพียง 20,000Hz ส่วนมาก ช่วงปลายเสียงจะถูกลำโพงทั่วไปตอบสนองได้ในระดับที่ต่ำกว่าแนวแกน -3 เดซิเบล ทั้งสิ้น เช่น ความถี่จาก 15,000Hz – 20,000Hz จะถูกลำโพงทั่วไปกดเสียงแหลมลงในลักษณะ เส้นโค้งตกลง มิได้แฟล็ตเรสพอนส์จริงดังกล่าวอ้าง
ถ้าเราต้องการฟังให้ถึง 20,000Hz จริงๆ ในทางหลักปฏิบัติ ก็ต้องมีตัวขับเสียงแหลม ที่สามารถสนองตอบความถี่เกิน 20,000Hz เพื่อขยายให้ช่วงปลายเสียงนั้นสามารถสนองตอบได้ครบถ้วนจริงๆ
อีกประการหนึ่งเรายังต้องการความรับรู้ที่นอกเหนือไปจากแค่การสนองตอบความถี่พื้นฐาน เช่น ฮาร์โมนิคช่วงปลายเสียงนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ในเครื่องดนตรีหลายชิ้นเป็นย่านความถี่ที่เกินกว่า 20,000Hz ขึ้นไปได้อีก
ดังนั้น การสนองตอบความถี่ ไปให้ถึง 40,000Hz หรือสองเท่าการได้ยินของมนุษย์ ก็เพื่อให้เราได้ยินรายละเอียดปลายเสียงแหลมได้สูงสุด ฮาร์โมนิคที่แฝงอยู่ในชิ้นดนตรีอย่างครบถ้วนจริงๆนั่นเอง
ทั้งการครอบคลุมความถี่นี้ จะสามารถรับฟังเครื่องดนตรีสมัยใหม่ได้ครบถ้วนที่สุดอีกด้วย (เครื่องดนตรียุคดิจิตอล สนองตอบความถี่สูงกว่า20,000Hz )
จึงเป็นที่มาของการสนองตอบความถี่ที่ครบถ้วนเก็บรายละเอียดทุกองค์ประกอบของดนตรี ของ Supertweeter รุ่น Sopranin ในระบบ ENIGMAcoustics M1
เรื่องราวของ ENIGMAcoustics ยังมีให้ท่านได้อ่านเพิ่มเติมอีกในสัปดาห์หน้า อย่าพลาดนะครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Website : www.kstudiothai.com
Facebook : www.facebook.com/kstudiothai
Line : @Kstudio
Tel. 085 489 7606