Sony จับมือ Mitsui พัฒนาระบบ Standalone 5G Enabling Dynamic Spectrum Access Systemได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก

0
2605

Sony จับมือ Mitsui พัฒนาระบบ Standalone 5G Enabling Dynamic Spectrum Access Systemได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก

พร้อมประกาศความร่วมมือศึกษาศักยภาพเชิงพาณิชย์ มุ่งสร้างสังคมที่ยั่งยืน

สนับสนุนการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ

(โตเกียว, ญี่ปุ่น / 11 ส.ค. 64) — กลุ่มบริษัทโซนี่คอร์ปอเรชั่น โดยเคนอิชิโร่ โยชิดะ ประธานบริหาร ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ บริษัท มิตซุย แอนด์โค จำกัด โดย เคนอิชิ โฮริ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมกันประกาศความความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี Dynamic Spectrum Access (DSA) ของ Sony*2 เป็นครั้งแรกของโลก*1 ในการใช้งาน 5G*3 แบบสแตนด์อโลน นอกจากความสำเร็จนี้แล้ว ทั้งสองบริษัทยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อเข้าร่วมเป็นพันธมิตรเดินหน้าศึกษาศักยภาพในเชิงพาณิชย์ของเทคโนโลยีนี้ และการใช้งานเพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเป็นมา

นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น Wi-Fi และ 5G ช่วยให้สามารถใช้งานระบบไร้สายได้เพิ่มมากขึ้นในงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน ทรัพยากรคลื่นความถี่ (ความถี่วิทยุ) มีจำกัด และได้กำลังกลายเป็นปัญหาที่ต้องจับตา

ด้วยเทคโนโลยี DSA คาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรความถี่วิทยุ จัดสรรความถี่วิทยุแบบรวมศูนย์ ผ่านฐานข้อมูลการจัดการทรัพยากรแบบเรียลไทม์ โดยแทนที่วิธีการจัดการคลื่นความถี่แต่ละย่านแยกกันในแบบดั้งเดิม โดยวิธีนี้จะช่วยให้สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้งานไม่ได้ตามพื้นที่ชั่วคราว เพื่อให้โอเปอเรเตอร์ และผู้ใช้งานรายใหม่สามารถใช้งานได้ ในขณะที่ยังช่วยปกป้องผู้ให้บริการด้านเครือข่าย และผู้ใช้ปลอดจากสัญญาณรบกวนต่าง ๆ

ขณะนี้ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคโนโลยี DSA ไปใช้งานจริง โดยมีการกำหนดคลื่นความถี่สำหรับ 4G/5G ในบางภูมิภาค และบางสถานที่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นทั่วโลก

การกระจายความหลากหลายในลักษณะนี้กำลังเกิดขึ้นในกระบวนการจัดสรรทรัพยากรด้านความถี่วิทยุ กรณีการใช้งานใหม่ และนวัตกรรมในการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดการคลื่นความถี่อัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยี DSA ก็กำลังถูกนำมาศึกษาเพื่อใช้งานด้วยเช่นกัน จึงทำให้โซนี่ และ มิตซุย ได้ผนึกความร่วมมือกันในการเข้ามาสร้างศักยภาพเชิงพาณิชย์ครั้งนี้

ผลงาน และเป้าหมายความร่วมมือของโซนี่ และมิตซุย

มิตซุยมีส่วนร่วมในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม โดยประยุกต์ใช้วิธีการบริหารธุรกิจในหลายแง่มุม รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ใช้ ICT เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างชาญฉลาดของเมือง และสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตในเอเชีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ นอกจากนี้ บริษัทในเครือ Mitsui Knowledge Industry Co. Ltd. (MKI) กำลังขับเคลื่อนการใช้ “Local 5G” ซึ่งเป็นโครงการขั้นสูงสำหรับการติดตั้งเครือข่าย 5G ในพื้นที่ในญี่ปุ่น เพื่อรองรับความต้องการใช้งานไร้สายที่เพิ่มขึ้นในงานอุตสาหกรรม

ในส่วนของโซนี่ยังได้สร้างผลงานโดยมีส่วนร่วมในการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี DSA ตั้งแต่เริ่มแรก นับตั้งแต่การใช้งานจริงบนระบบ Citizens Broadband Radio Service (CBRS)*4 ขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาครั้งแรกของโลก โซนี่ยังได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (FCC) สำหรับการปฏิบัติการเชิงพาณิชย์*5 ในการดูแลการบริหารจัดการคลื่นความถี่ (การกำหนดสเปกตรัม การอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ การกำหนดค่าพารามิเตอร์การทำงาน เช่น กำลังส่งสูงสุดที่อนุญาต) ในย่านความถี่ 3.5 GHz (3GPP B48/n48) นอกจากนี้ ภายใต้การอนุมัตินี้ โซนี่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลระบบ CBRS SAS*6 เพื่อดำเนินการในสหรัฐอเมริกา และได้รับการยอมรับว่า มีเทคโนโลยีระดับเชิงพาณิชย์ที่ยอดเยี่ยม และยังได้รับสิทธิบัตรที่สำคัญมากมาย

โซนี่ และมิตซุย ตั้งเป้าที่จะสร้างจุดแข็งเหล่านี้ เพื่อใช้รูปแบบการใช้คลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ และสร้างแพลตฟอร์มธุรกิจ และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ในทุกพื้นที่ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมแค่ในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเอเชีย ตลอดจนในภูมิภาคอื่น ๆ ที่ได้ทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ภายใต้โครงการนี้ ได้ตั้งเป้าในการสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อตอบรับความต้องการของระบบไร้สายที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนชุมชนในภาคสังคมส่วนรวมอีกด้วย

ภาพใช้เพื่อประกอบคำอธิบายเท่านั้น

*1 ตามที่ประกาศในเดือนสิงหาคม 2021 จากข้อมูลของ Sony และ Mitsui การวิจัยนี้จะดำเนินการโดยความร่วมมือของ Airspan Networks, Inc โดยใช้สถานีฐาน 5G ของ Airspan Networks ที่สนับสนุนการทำงานแบบสแตนด์อโลน

*2 เทคโนโลยีที่รวมการจัดการคลื่นความถี่ไว้ในฐานข้อมูล โดยกำหนดย่านความถี่ที่พร้อมใช้งานแบบเรียลไทม์พร้อมทั้งระงับการรบกวนของคลื่นวิทยุ ดังนั้นจึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรความถี่วิทยุที่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ

*3 ตรงกันข้ามกับวิธีการที่ไม่ใช่แบบสแตนด์อโลนที่ 5G ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี 4G บางส่วน นี่หมายถึงวิธีการที่ใช้สถานีฐาน 5G โดยใช้เครือข่ายหลัก 5G แยกอิสระ

*4 Citizens Broadband Radio Service (CBRS) เป็นชื่อของ Title 47 Code of Federal Regulation Part 96 และชื่อรวมของบริการไร้สายที่ใช้คลื่นความถี่ Part 96 ซึ่งควบคุมการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุที่มีการใช้งานน้อยในช่วงความถี่คลื่นระหว่าง 3550 -3700MHz ส่วนใหญ่กำหนดให้กับกระทรวงกลาโหม บริการดาวเทียม บริการบรอดแบนด์ไร้สาย ฯลฯ ภายใต้ Part 96 SAS ถูกกำหนดให้จัดการการใช้ทรัพยากรความถี่วิทยุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามสถานีฐาน (อุปกรณ์ CBSD, CBRS)

*5 ประกาศต่อสาธารณะตามประกาศของ FCC เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2020 WTB และ OET อนุมัติผู้ดูแลระบบการเข้าถึงสเปกตรัมสี่คน สำหรับการปรับใช้เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในแบนด์ 3.5 GHz และเน้นย้ำภาระผูกพันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ได้รับอนุญาตในย่านความถี่ 3650-3700 MHz ภายใต้ Part 96

*6 ระบบการจัดการการแบ่งปันสเปกตรัมที่รองรับการเข้าถึงคลื่นความถี่แบบไดนามิก