The Art of Speaker Design
Chapter Three
จากนั้น
ก็ขยายฐานสู่ลำโพงไลฟ์สไตล์ ทั้งAego, Aegis, Neo และ Evo
Seriesเป็นที่ตอบรับกว้างขวาง
ที่ถือว่าโดดเด่นจริงๆ คือการเปิดตัวรุ่น AE MkIII Special
Edition เป็นลำโพงที่ได้รับรางวัลและบทวิจารณ์มากเท่ากับ AE1
ดั้งเดิม พร้อมด้วยการเปิดตัว Reference, Radiance และ NeoV2 Series ตามมาด้วยAEซีรีย์ที่สาม
ความน่าสนใจก็คงเป็นการกลับมาผลิตและอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของชาวอังกฤษอีกครั้งหนึ่งซึ่งก็มีลำโพงอยู่หลายซีรีย์ด้วยกันที่ทำให้เป็นที่จับตามากที่สุดในปัจจุบัน
โดยเฉพาะ ลำโพง ซีรีย์ 100 และ300
คุณภาพ และราคาที่ ดีที่สุดเท่าที่AE เคยผลิตลำโพงมา
สรุปแล้วในปัจจุบันลำโพงหลักๆของAE จะมี Reference
Series ตามด้วยAE1 Active ที่มีกำลังขับในตัวเองที่ถือว่า
มาแรงที่สุดในตลาดโลก ลำโพงซีรีย์100, 300 ตามมาด้วย Extreme
SeriesและAego Systems
สำหรับในประเทศไทยการนำเข้าลำโพงในรุ่น100, 300series และAego Systemsซึ่งมีซาวนด์บาร์มาประเดิมสำหรับคอเครื่องเสียง
บุคลิกเสียง อันเป็นเอกลักษณ์ ของ
AE : Acoustic Energy
เรื่องสำคัญนักเล่นเครื่องเสียงทุกท่านควรตระหนัก ให้ความสำคัญ
อยู่เสมอ คือ ลำโพงจะเป็นตัวแปรสภาพของทุกสิ่งที่เราควรได้ยินออกมา
ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับตัวของมันเองเป็นหลัก
รองลงไปเป็นศักยภาพของชุดเครื่องขยาย
ดังนั้นหลักในการสังเกต คุณภาพเสียงของลำโพง จะประกอบด้วย
?Balance of Frequency
?Dynamic range
?Natural of Sound
?Characteristic
?Clean
?Sound stage
?Image
?Convenience
?Setup
ความเข้าใจถึงสไตล์รูปแบบวิธีการของการออกแบบ
จากห้องดีไซน์ลำโพงมาสู่การได้ยินของเรานั้น ลำโพงจะเลือกผู้ฟัง.
และผู้ฟังเองก็จะเป็นผู้เจาะจงตัวลำโพงเช่นเดียวกัน
สองสิ่งที่ ดูจะเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธ คือ
ลำโพงทุกคู่ มีบุคลิกต่างกัน
คนทุกคนมีสไตล์ รสนิยมต่างกัน
และในความพอดี ของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน ลำโพงที่ออกแบบมา
ก็มีกลุ่มเป้าหมาย ชัดเจน ว่าเหมาะกับใคร
แนวเสียง ความถี่ และสไตล์ ลงตัวกับความชื่นชอบของแต่ละคน
บุคลิกลำโพง จึงเป็น”บุคลิกคนฟัง”
ไม่มีใครตัดสินใจแทนใครได้
สิ่งที่ผมจะวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปนี้ก็คือการใช้ประสบการณ์ของตัวผมเอง
และพยามที่จะชี้ให้เห็นถึงการครอบคลุมในจุดหมายต่างๆดังหัวข้อด้านบนทั้งหมด
ไม่จำเป็นว่าทุกท่านจะต้องเห็นพ้องด้วย
35ปีที่ผ่านมาคำถามที่เกี่ยวกับลำโพงคือ คุณภาพเสียง.
บุคลิกเสียงหรือน้ำเสียงเป็นเช่นไร. ตรงนี้ค่อนข้างอธิบายยาก แต่ก็เป็นสิ่งที่นักวิจารณ์ควรที่จะกรองออกมาเป็นตัวอักษรให้เข้าใจตรงกันได้
ลำโพงAE1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นตำนานรุ่นแรก
มีการขยายออกมาอีกหลายหลาย มันคือเสาหลักที่บ่งชี้ให้เห็นความเป็นAEได้อย่างเป็นเลิศ
ในปัจจุบันAE1ได้พัฒนาออกมาห่างไกลจากรุ่นแรกมากมาย
เพราะโลกปัจจุบันการฟังเพลงจากแหล่งโปรแกรมนั้น ได้เปลี่ยนไป จากอะนาล็อกล้วนสู่ Digital
Sound ดังนั้น ลำโพงมีความจำเป็นต้องพัฒนาตาม
การนำเสนอลำโพงAE1 ระบบแอคทีฟ
นั่นก็เท่ากับว่าเป็นความพยายามรักษา ความเป็นสตูดิโอมอนิเตอร์อีกครั้งหนึ่ง
บุคลิกลำโพงAE1 ดั้งเดิมต้นตำนาน
ถือว่าเป็นลำโพงที่ออกแบบมาใช้งานได้ยากพอสมควร.
ค่าความไวอาจจะไม่ใช่ปัญหา. แต่การเลือกสรรแมทช์แอมปลิไฟร์.
ภาคขยายที่จะใช้ไปขับมันนั้นค่อนข้างลำบาก.
อีกทั้งการเบิร์นลำโพงก็จะต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 200 ชั่วโมง
มันจึงจะเข้าที่ทาง อาจทำให้บางคนไม่อาจจะรอคอยได้
แรกสุดในการฟังAE1 คนที่ไม่คุ้นเคยเมื่อแกะออกจากกล่องมาต่อฟัง
มักส่ายหน้าแทบทุกคน นักเล่นที่คุ้นเคยลำโพงอเมริกัน บางคนพูดว่า “เสียงไม่เอาไหนเลย” ก็มี
AE1 ในปี1978 ที่ผมมีโอกาสเป็นเจ้าของด้วยนั้น
ได้สร้างวาระใหม่ขึ้นมานั่นก็คือ “ทรมานบันเทิง” เพราะเป็นลำโพงที่ต้องเบิร์นนานจริงๆ
เทียบเคียงกับลำโพงที่เราคิดว่าจะต้องเบิร์นนานที่สุดนั้นก็มักจะไม่เกิน 100
ชั่วโมง
แต่AE1 ถ้าต่ำกว่า 200 ชั่วโมงแล้วอย่าคาดหมายว่ามันจะให้เสียงที่ดีออกมาได้
การปรับปรุงในระยะหลังๆ มาก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนความเป็นตัวตนของAE1
ได้ทั้งหมด
❇ กรุณาติดตาม Chapter Four ต่อไป ✳