ออกเดินทางสู่เกาะแห่งเสียง เปิดกล่องสมบัติเครื่องเสียงคุณภาพ กับโปรโมชันสุดคุ้ม MAHAJAK SOUND OF SUMMER 2025 บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด จัดโปรโมชัน Sound of Summer 2025 : The Journey of Island Beats สินค้า Home Audio แบรนด์ JBL, Denon ในราคาพิเศษสุด และรับสินค้าของแถมสุดคุ้ม (เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ) โดยมีรายละเอียดโปรโมชันดังนี้ JBL Soundbar Series ลำโพงซาวด์บาร์ JBL Bar 9.1 ราคาพิเศษ 19,900 บาท ลำโพงซาวด์บาร์ JBL Bar 300 ราคาพิเศษ 14,365 บาท ลำโพงซาวด์บาร์ JBL Bar 500 ราคาพิเศษ 20,610 บาท ลำโพงซาวด์บาร์ JBL Bar 800 ราคาพิเศษ 26,910 บาท ลำโพงซาวด์บาร์ JBL Bar 1000 ราคาพิเศษ 30,151 บาท ลำโพงซาวด์บาร์ JBL Bar 1300 ราคาพิเศษ 44,910 บาท **พิเศษ รับสิทธิ์ซื้อ JBL Partybox On The Go Essential ในราคาลด 10% เมื่อซื้อ JBL Soundbar Series รุ่นใดก็ได้ JBL Classic Series JBL L52 Classic (สีส้ม/สีน้ำเงิน) ราคาพิเศษ 37,905 บาท JBL L82 Classic (สีดำ) ราคาพิเศษ 85,405 บาท JBL L82 MKII (สีส้ม/สีดำ) ราคาพิเศษ 85,405 บาท JBL L100 MKII (สีส้ม/สีน้ำเงิน/สีดำ) ราคาพิเศษ 170,050 บาท ModernTage Set ModernTage Set 4 ราคาพิเศษ 47,405 บาท (ประกอบด้วย Denon Heos AMP จำนวน 1 เครื่อง และ JBL L52 Classic จำนวน 1 คู่) ModernTage Set 1 ราคาพิเศษ 37,905 บาท (ประกอบด้วย Denon Heos AMP จำนวน 1 เครื่อง และ JBL 4312 MKII จำนวน 1 คู่) JBL Classic Set Hifi Classic 1 ราคา 119,000 บาท (ประกอบด้วย Denon PMA 900 จำนวน 1 เครื่อง และ JBL L82 Classic จำนวน 1 คู่) *ฟรี ขาตั้งลำโพง JS80 จำนวน 1 คู่ เมื่อซื้อ Hifi Classic Set 1 JBL Classic 100 ราคา 239,000 บาท (ประกอบด้วย JBL SA 750 จำนวน 1 เครื่อง และ JBL L100 Classic จำนวน 1 คู่) *ฟรี ขาตั้งลำโพง JS120 จำนวน 1 คู่ เมื่อซื้อ JBL Classic 100 JBL Studio Monitor JBL 4312 MKII (สีขาว) ราคาพิเศษ 28,405 บาท JBL 4312 MKII (สีดำ) ราคาพิเศษ 26,910 บาท Denon AV Receiver Denon AVR-X1700H ราคาพิเศษ 24,210 บาท *แถมฟรี ลำโพง Denon Heos 5 (สีขาว) จำนวน 1 ตัว Denon AVC-X3700H ราคาพิเศษ 39,510 บาท *แถมฟรี ลำโพง Denon Heos 5 (สีขาว) จำนวน 1 ตัว Denon AVC-X6700H ราคาพิเศษ 87,210 บาท *แถมฟรี ลำโพง Denon Heos 7 (สีขาว) จำนวน 1 ตัว Denon AVR-X250BT ราคาพิเศษ 10,965 บาท New Denon AV Receiver Denon AVR-X580BT ราคาพิเศษ 16,915 บาท Denon AVR-X1800H ราคาพิเศษ 24,565 บาท Denon AVR-X2800H ราคาพิเศษ 33,915 บาท Denon AVC-X3800H ราคาพิเศษ 47,515 บาท Denon AVC-X4800H ราคาพิเศษ 72,165 บาท Denon AVC-X6800H ราคาพิเศษ 84,065 บาท HEOS ลำโพง Denon Heos 5 (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 13,520 บาท ลำโพง Denon Heos 7 (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 18,320 บาท Denon Home ลำโพง Denon Home 150 (สีดำ) ราคาพิเศษ 9,405 บาท ลำโพง Denon Home 250 (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 14,310 บาท ลำโพง Denon Home 350 (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 17,910 บาท Mini Compo Denon Ceol N12 Dab (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 26,505 บาท Denon DM-41 ราคาพิเศษ 18,905 บาท Network Player Denon DNP800NE ราคาพิเศษ 17,910 บาท Denon DNP2000NE (สีดำ/สีเงิน/สีกราไฟท์) ราคาพิเศษ 50,310 บาท Integrated Amp Denon PMA-900H ราคาพิเศษ 32,310 บาท Turntable Denon DP400 (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 18,905 บาท Denon DP450 USB (สีขาว/สีดำ) ราคาพิเศษ 24,605 บาท Home Theater Set Stage Ultra HD 5 ราคาพิเศษ 49,215 บาท (ประกอบด้วย Denon AVR-X1700H และชุดลำโพง JBL Stage) Stage Ultra HD 2 ราคาพิเศษ 52,615 บาท (ประกอบด้วย Denon AVR-X2700H และชุดลำโพง JBL Stage) Stage Ultra HD 3 ราคาพิเศษ 65,365 บาท (ประกอบด้วย Denon AVC-X3700H และชุดลำโพง JBL Stage) Premium Stage HD 2 ราคาพิเศษ 56,865 บาท (ประกอบด้วย Denon AVR-X2800H และชุดลำโพง JBL Stage) Premium Stage HD 3 ราคาพิเศษ 67,915 บาท (ประกอบด้วย Denon AVC-X3800H และชุดลำโพง JBL Stage) Premium Stage HD 4 ราคาพิเศษ 81,515 บาท (ประกอบด้วย Denon AVC-X4800H และชุดลำโพง JBL Stage) ULTRA HD 7 ราคาพิเศษ 237,150 บาท (ประกอบด้วย Denon AVC-X6700H และชุดลำโพง JBL LS) Frosty White HD5 MKII ราคาพิเศษ 224,100 บาท (ประกอบด้วย Denon AVC-X6700H และชุดลำโพง Revel Concerta2) A/V COMPACT A/V COMPACT SET 1 ราคาพิเศษ 18,615 บาท (ประกอบด้วย เครื่องเล่น Denon AVR-X250 จำนวน 1 เครื่อง และ ชุดลำโพง JBL CINEMA510 จำนวน 1 ชุด) A/V COMPACT HD SET 2 ราคาพิเศษ 24,565 บาท (ประกอบด้วย เครื่องเล่น Denon AVR-X1700 จำนวน 1 เครื่อง และ ชุดลำโพง JBL CINEMA510 จำนวน 1 ชุด) Denon Soundbar *สินค้า Exclusive สำหรับ Showroom มหาจักรเท่านั้น HEOS Home Cinema HS2 ราคาพิเศษ 15,900 บาท HEOS Bar ราคาพิเศษ 19,900 บาท HEOS Subwoofer ราคาพิเศษ 15,900 บาท HEOS Bar & Subwoofer ราคาพิเศษ 30,000 บาท ระยะเวลาโปรโมชั่นตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 2568 – 30 เม.ย. 2568 นี้เท่านั้น หาซื้อได้ที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ, ร้าน Dream Theater, ร้าน Sound City, และโชว์รูมมหาจักรฯ ทุกสาขา เงื่อนไขโปรโมชั่นและการรับของแถม - ระยะเวลาโปรโมชั่น 15 มีนาคม 2568 – 30 เมษายน 2568 - โปรโมชันนี้เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น - สินค้าราคาโปรโมชันรวม VAT 7% แล้ว - สิทธิ์รับของแถม เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการตามเงื่อนไข และสามารถแลกรับสินค้าของแถมได้ 1 ชิ้นเท่านั้น - สามารถลงทะเบียนรับสินค้าของแถมได้ไม่เกินวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 (ใบเสร็จจะต้องซื้อสินค้าภายในวันที่ 15 มีนาคม 2568 – 30 เมษายน 2568) - สินค้าของแถมไม่สามารถเลือกสี/รุ่น และมีจำนวนจำกัด - สินค้าของแถมไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ - ลูกค้าลงทะเบียนรับของแถม ผ่าน Line: @mahajakplus เท่านั้น โดยจะต้องลงทะเบียนรับประกันก่อน สินค้าที่มีสิทธิ์รับของแถมระบบจะให้เลือกรับลงทะเบียนของแถมเพิ่มเติม - ขอสงวนสิทธิ์การรับของแถม สำหรับลูกค้าที่ลงทะเบียนรับประกันสินค้าและของแถมผ่าน Line @mahajakplus เท่านั้น กรณีที่ลงทะเบียนรับประกันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรับของแถมได้ - ไม่สามารถลงทะเบียนรับของแถมหลังจากหมดเขตโปรโมชันในทุกกรณี - ของแถมจัดส่ง 30 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์) ผ่านทางไปรษณีย์ - ช่องทางที่ร่วมรายการ ได้แก่ โชว์รูมมหาจักรทุกสาขา, ร้าน Sound City by Mahajak, Dream Theater และร้านตัวแทนจำหน่ายของมหาจักรเท่านั้น - สามารถสอบถามข้อมูลโปรโมชันและของแถมได้ที่ Call center 1516 หรือ Line @mahajakstore - บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด Line : http://lin.ee/dKalYBy Facebook : http://www.facebook.com/MahajakLiving/ IG : https://www.instagram.com/mahajak_living/ Mahajak Service Center 1516 หรือ http://www.mahajak.com/th/
Bose 802 Series V และ Bose 402 Series V กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ใน The Guitar Mag Awards 2025 สร้างประสบการณ์เสียงระดับตำนาน กรุงเทพฯ – งาน The Guitar Mag Awards 2025 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ณ The Forum, One Bangkok ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามจากผู้เข้าร่วมงานกว่า 4,000 คน และเป็นเวทีสำคัญที่ Bose 802V และ Bose 402V ได้กลับมาอย่างเป็นทางการ โดยบริษัท อัศวโสภณ จำกัด ได้นำเสนอลำโพงระดับตำนานนี้ผ่านระบบเสียงประกาศและ Background Music ภายในงาน รวมถึงบูธแสดงสินค้าซึ่งได้รับความสนใจจากตัวแทนจำหน่าย นักดนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงเป็นจำนวนมาก Bose 802V และ Bose 402V – เสียงที่มืออาชีพไว้วางใจกลับมาอีกครั้ง ภายในงาน The Guitar Mag Awards 2025 ลำโพง Bose 802 และ 402 ได้รับบทบาทสำคัญในการมอบประสบการณ์เสียงที่คมชัดและทรงพลังให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ตั้งแต่โซนพรมแดง บริเวณประกาศรางวัล ไปจนถึงพื้นที่กิจกรรมด้านนอก ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสามารถของลำโพงรุ่นนี้ในการตอบโจทย์ทุกสถานการณ์การใช้งาน เสียงตอบรับจากผู้ร่วมงาน ผู้เข้าชมงานและตัวแทนจำหน่ายที่เข้าร่วมบูธของ Bose Professional ต่างชื่นชมคุณภาพเสียงที่เหนือชั้นของลำโพงรุ่นนี้ หลายคนกล่าวว่า “เสียงของ Bose 802 และ 402 ยังคงเป็นมาตรฐานของวงการ และการกลับมาครั้งนี้น่าตื่นเต้นมาก” อีกทั้งยังมีการจองสินค้าและข้อเสนอพิเศษที่ถูกตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ไฮไลต์สำคัญจากบูธ Bose Professional • การทดสอบเสียงจริง จาก Bose 802V และ 402V ในบรรยากาศงานระดับประเทศ • ข้อเสนอพิเศษเฉพาะภายในงาน ซึ่งทำให้มีการสั่งซื้อและจองสินค้าเป็นจำนวนมาก • การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ ระหว่างนักดนตรี ผู้จัดงาน และตัวแทนจำหน่าย อัศวโสภณพร้อมเดินหน้าต่อ การเปิดตัว Bose 802 และ 402 ในงานนี้ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายผลิตภัณฑ์และบริการด้านระบบเสียงให้กับกลุ่มลูกค้าทั้งเดิมและใหม่ บริษัท อัศวโสภณ จำกัด มีแผนเดินหน้าจัดกิจกรรมสาธิตสินค้าและเวิร์กช็อปเพิ่มเติมในปีนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์เสียงระดับมืออาชีพอย่างใกล้ชิด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bose 802 และ 402 หรือนัดหมายการทดสอบเสียง สามารถติดต่อได้ที่ [ฝ่ายการตลาด] บริษัท อัศวโสภณ จำกัด โทร: [02-266-8136-8] อีเมล: [support@asavasopon.co.th] เว็บไซต์: www.asavasopon.co.th
การกลับมาของตำนาน! Bose 802 Series V และ Bose 402 Series V พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่งาน The Guitar Mag Awards 2025 กรุงเทพฯ – บริษัท อัศวโสภณ จำกัด ผู้นำด้านระบบเสียงมืออาชีพและตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Bose Professional มีความยินดีที่จะประกาศ การกลับมาของลำโพงระดับตำนาน Bose 802 และ 402 หลังจากห่างหายจากตลาดไปหลายปี โดยการเปิดตัวครั้งนี้จะเกิดขึ้นในงาน The Guitar Mag Awards 2025 ซึ่งเป็นงานประกาศรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับวงการดนตรี ณ The Forum, One Bangkok ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 Bose 802 และ 402 – การกลับมาของลำโพงระดับตำนาน ลำโพง Bose 802 และ 402 ถือเป็นไอคอนแห่งวงการระบบเสียงมืออาชีพ ด้วยความสามารถในการให้เสียงที่คมชัดและทรงพลัง ครอบคลุมทุกการใช้งานทั้งในระบบเสียงคอนเสิร์ต งานอีเว้นท์ พื้นที่สาธารณะ และธุรกิจที่ต้องการคุณภาพเสียงระดับมืออาชีพ การกลับมาของลำโพงรุ่นนี้เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่เฝ้ารอการเปิดตัวอีกครั้ง ไฮไลต์ภายในงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์เสียงที่แท้จริง Bose 802 และ 402 จะถูกนำมาใช้เป็น ระบบเสียงประกาศและ Background Music ภายในพื้นที่งานบริเวณ ชั้น 2 และชั้น 3 ของ The Forum, One Bangkok รวมถึงมี บูธแสดงสินค้า Bose Professional ที่ชั้น 3 ให้ผู้ร่วมงานได้ทดสอบและฟังเสียงจริงจากลำโพงระดับตำนานนี้ [ฝ่ายการตลาด] บริษัท อัศวโสภณ จำกัด โทร: [02-266-8136-8] อีเมล: [support@asavasopon.co.th] เว็บไซต์: www.asavasopon.co.th
เอปสัน แต่งตั้งประธานบริษัทคนใหม่ 24 กุมภาพันธ์ 2025 – บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ประกาศแต่งตั้ง มร.โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief Executive Officer) โดยเข้ารับตำแหน่งแทน มร.ยาสึโนริ โอกาวะ ซึ่งจะรับตำแหน่งประธานและผู้อำนวยการ (Chairman and Director) ต่อไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2025 (มร.ยาสึโนริ โอกาวะ (ซ้าย) ประธานและผู้อำนวยการ บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น มร.โยชิดะ จุนคิชิ (ขวา) ประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น) เอปสัน มุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนและเสริมสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์องค์กร Epson 25 Renewed ดังนั้น การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาทางสังคม ผ่านแนวคิด นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ กะทัดรัด และแม่นยำ ในปีงบประมาณ 2025 ถือเป็นปีสุดท้ายของวิสัยทัศน์ Epson 25 Renewed และเป็นปีที่เอปสันจะกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ฉบับใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งธุรกิจหลักและธุรกิจใหม่ การเปลี่ยนแปลงผู้นำในครั้งนี้ ได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการสรรหาและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท มีเป้าหมายเพื่อสร้างรากฐานการบริหารที่มั่นคงและเพิ่มมูลค่าขององค์กร ภายใต้ทีมผู้บริหารชุดใหม่ ที่จะรับผิดชอบทั้งการกำหนดวิสัยทัศน์องค์กรในอนาคตและการดำเนินกลยุทธ์ให้บรรลุผลสำเร็จ สู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืนของเอปสัน มร.โยชิดะ จุนคิชิ สำเร็จการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคโอ เริ่มต้นทำงานกับ ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ตั้งแต่ปี 1988 และมีประสบการณ์ในตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายวางแผนกลยุทธ์เครื่องพิมพ์ รองผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัล รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจเครื่องพิมพ์ ต่อมาในเดือนเมษายน ปี 2021 ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจเครื่องพิมพ์ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และเดือนมิถุนายน ปี 2024 ยังได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอีกด้วย ซึ่ง มร.โยชิดะ จุนคิชิ ได้อยู่ในตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 1 เมษายน 2025 นี้
KEF KW1 Wireless Subwoofer Adapter ตอบโจทย์เทคโนโลยีไร้สาย จากการทดสอบ KEF KUBE 12 MIE และการตัดสินใจนำเอา KEF KC62 ซับวูฟเฟอร์จิ๋วอัศจรรย์ มาประจำการในห้องฟังเป็นการส่วนตัว ซึ่งแน่นอนว่า หลักๆ เราจะต่อสายใน 2 รูปแบบในการใช้งาน หนึ่งต่อจากช่อง line แบบ RCA (Line Input) หรือพ่วงด้วยสายลำโพง (Speaker Input) ที่ระบบของ KEF มีมาให้ทั้งสองรูปแบบ ในการฟังเพลง และดูหนัง Home Theater แต่ทางเลือกจากเทคโนโลยีของ KEF มีมากไปกว่านั้นคือ ทางเลือกที่สาม ระบบเชื่อมต่อไร้สาย KEF ได้ออกแบบระบบ บ็อกซ์เชื่อมต่อไร้สาย มาให้ใช้งานด้วย KEF KW1 โดยจะเป็นกล่องอุปกรณ์ขนาดย่อม ที่สามารถนำมาใช้ได้กับซับวูฟเฟอร์ของ KEF ในรุ่น KUBE, KC62 และ KC92 ได้ ช่วยอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ใช้ระบบลำโพงของ KEF KEF KW1 ทำให้เราสามารถวางซับวูฟเฟอร์ KEF ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องสายเชื่อมต่อ การส่งสัญญาณแบบไร้สายที่มีคุณภาพสูง และ Latency ต่ำ ช่วยถ่ายทอดรายละเอียดและพลังเสียงจากภาพยนตร์และการฟังเพลงได้อย่างครบถ้วน อุปกรณ์ชิ้นนี้ ประกอบด้วยตัวส่งสัญญาณ และตัวรับสัญญาณที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย สามารถใช้งานร่วมกับแอคทีฟซับได้อย่างลงตัว ตัวรับสัญญาณยังสามารถซื้อแยก หรือเพิ่มเติมได้ เพื่อให้สามารถใช้งานซับวูฟเฟอร์ KEF สองตัว ในการรับสัญญาณไร้สายเดียวกันจากตัวส่งสัญญาณเพียงตัวเดียว KEF KW1 ดีไซน์ทางเทคนิคให้ทำงานบนย่านความถี่ 5.2GHz และ 5.8GHz หมดปัญหาการถูกรบกวนของคลื่น 2.4GHz ที่ถูกใช้งานจำนวนมากในระบบเสียงในปัจจุบัน โดยรองรับ Sampling Rate สูงถึง 24bit, 48KHz ทาง KEF การันตีว่า เสียงจึงคมชัดเสมือนต่อสาย มี Latency หรือค่าความหน่วงต่ำ ถึง <17ms (17 มิลลิวินาที) ให้การตอบสนองทันท่วงที ใกล้เคียงระบบสาย โดยเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายได้ระยะไกลสูงสุด 30 เมตร (Line of Sight) ทดลองใช้งาน KEF KW1 การนำ KEF KW1 มาใช้งานได้อย่างง่ายมากครับ แค่จัดเอา “ตัวส่ง” ต่ออะแดปเตอร์ไฟ แล้วไปผูกสัญญาณ (ต่อสาย RCA ) กับช่อง Sub Out ของแอมปลิไฟร์ และตัวรับก็นำมาต่อกับช่อง EXP (มีช่องต่อพินสี่พินเล็กๆ ในกรอบสี่เหลี่ยม) ที่ตู้ซับวูฟเฟอร์ของKEF เพียงเท่านี้เองครับ จากนั้นตัวรับและตัวส่ง จะ Pairing กันโดยอัตโนมัติ ส่วนจะเลือกเป็นความถี่ 5.2 หรือ 5.8GHz เราทดลองกดเลือกดูได้ ซึ่งระบบของ KEF KW1 น่าจะเลือกต่อสัญญาณที่ดีที่สุดให้เป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว ผมได้นำ KW1 มาทดสอบร่วมกับซับวูฟเฟอร์สองรุ่น คือ KEF KC62 และ KEF KUBE 12 MIE ในการทดสอบพบว่าให้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจมากทีเดียว สำหรับการส่งสัญญาณแบบไร้สายของ KEF KW1 เพราะความกังวล อาจจะเป็นเรื่องของ “การดีเลย์” สำหรับระบบไร้สายที่เคยมีมาในอดีต แต่จากการใช้งานเปรียบเทียบระหว่างสายต่อตรงกับการใช้ระบบไร้สายแบบนี้ของ KEF KW1 ผมว่าฟังออกยากนะครับ ดูเหมือนว่าผมก็ยังไม่สามารถจับความแตกต่างได้จริงๆ ว่า มันมีการดีเลย์ หรือหน่วงเวลาของระบบไร้สายหรือไม่ เพราะเท่าที่ใช้งาน ราบรื่นต่อเนื่องดีมาก ทำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับความเป็นอิสระในการเลือกตำแหน่งวางตู้ซับไปได้ทุกตำแหน่งภายในห้องฟัง บางช่วงเวลาในขณะเซ็ตอัพ ผมทดลองนำเอาซับวูฟเฟอร์แยกออกไปห่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในห้อง ที่ 4-5 เมตร ก็ยังพบว่ามันสามารถทำงานได้อย่างฉับไวโดยไม่รู้สึกขาดตอน เข้าใจว่า ระบบไร้สาย อาจจะมีการดีเลย์ได้บ้าง แต่เท่าที่ทดสอบใช้งาน KW1 การดีเลย์ก็ไม่ได้มากพอที่เราจะรับทราบได้ง่ายดาย แม้แต่ความพยายามของผมที่นั่งฟังทดสอบแบบ “จับผิด” กันทั้งวัน ก็ฟังไม่ออกนะครับ ยังต้องยอมรับว่า ระบบของ KEF KW1 ทำได้ดีมากๆ ดังนั้นการใช้งานระบบไร้สายภายในห้องก็น่าจะเข้าขั้นเพอร์เฟคดีทีเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกไม่ต้องใช้สาย และในการเลือกตำแหน่งของตู้ซับค่อนข้างอิสระยิ่งขึ้นครับ KEF KW1 Wireless Subwoofer Adapter ราคา 7,990.- บาท สนใจสั่งซื้อ : https://www.vgadz.com/product/kef-kw1-wireless-subwoofer-adapter-black/ หรือติดต่อซื้อสินค้า KEF ได้ที่ตัวแทนจำหน่าย: https://www.vgadz.com/kef-dealer/ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: บริษัท วีแกดซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เลขที่ 9/7 ซ. รัชดาภิเษก 18 ถ. รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทร 02-692-5216
Hattor Audio Ultimate Passive Pre-Amplifier & Ultimate Mono Power Amplifier ลึกซึ้งในเสียงดนตรีที่มีชีวิต เริ่มต้นปีศักราช 2568 ด้วยแอมปลิไฟร์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากตลาดไฮเอ็นด์ออดิโอทั่วไปอย่างสิ้นเชิง นั่นทำให้รู้สึกว่า ปีนี้เราจะมีอะไรเพิ่มเติมวิถีทางออดิโอไฟล์ให้เข้าใกล้ดนตรีมากเป็นพิเศษ บริษัท Hattor Audio มีสำนักออกแบบในประเทศสเปน และโรงงานผลิตอยู่ในโปแลนด์ ย่อมทำให้ผมแปลกใจยิ่งขึ้นว่า สาธารณรัฐโปแลนด์มีผลิตภัณฑ์ที่เราน่าจะคุ้นเคยต่อไปในอนาคตอีกหลายแบรนด์หรือไม่อย่างไร การออกแบบที่สวยงามเกินบรรยาย หน้าดิสเพลย์พื้นไม้ธรรมชาติที่คัดเฉพาะ ทำให้ Hattor Audio นี้ ดูมีเสน่ห์อย่างร้ายกาจ มีขนาดเครื่องเท่ากันทั้งแพสสีพปรีแอมป์ และเพาเวอร์แอมป์ คลาส D โมโนบล็อก คือ กว้าง x ลึก x สูง : 27 x 25 x 9 เซนติเมตร ปรัชญาและหลักการออกแบบของ Hattor Audio นั้นเน้นไปที่ • อุปกรณ์ชิ้นส่วนระดับ High Performance เพื่อให้มีค่าเบี่ยงเบนน้อยที่สุดตั้งแต่เริ่มต้น • ระบบ Fully Balanced ส่งผลให้เสียงสะอาดและมีไดนามิกมากขึ้นแยกช่องสัญญาณได้ดีขึ้น และมีเวทีเสียงที่ดีขึ้น • เส้นทางสัญญาณในวงจรลัด สั้นที่สุด ช่วยให้เสียงมีความแม่นยำยิ่งขึ้น โดยยังคงรักษาคุณลักษณะดั้งเดิมของดนตรีจากอินพุตเอาไว้ให้สมบูรณ์ • มีการตั้งค่าเกน อินพุต/เอาต์พุต และการควบคุมระดับเสียงที่แตกต่างกัน ด้วยรายละเอียดแต่ละสเตปอย่างแม่นยำ • การออกแบบและวิศวกรรมมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่วงจรไปจนถึงวัสดุของโครงสร้างเครื่อง ทุกอย่างล้วนได้รับการพิจารณาเพื่อลดการสั่นพ้องและการสั่นสะเทือน • ในปรีแอมป์ของ Hattor เน้นโครงสร้างเกนขยายที่เหมาะสม ให้ช่วงไดนามิกที่กว้างและพื้นเสียงรบกวนต่ำ สามารถรับมือกับระดับสัญญาณที่แตกต่างกันได้โดยไม่ทำให้เกิดการบิดเบือน • องค์ประกอบของปรีแอมป์ และเพาเวอร์แอมป์ ออกแบบให้ลดการสั่นสะเทือน และสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในตัวเอง ทำให้ประสิทธิภาพและความบริสุทธิ์ของเสียงดีขึ้น • Hattor Audio Ultimate Passive Pre-Amplifier เป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบ ที่จะนำระบบแพสสีพ ปรีแอมป์ ที่เน้นคุณภาพอุปกรณ์ในวงจรที่ไม่มีไฟเลี้ยง หรือ Passive Pre-Amp ให้ทำงานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์โมโนบล็อก Dual mono ระบบวงจรขยาย New Class D ขออธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับแพสสีพ ปรีแอมป์ สักเล็กน้อย เพราะเป็นปรีที่น่าจะมีโอกาสให้สัญญาณรบกวนเข้าไปยุ่งกับมันน้อยที่สุด เนื่องจากเน้นที่เกรดอุปกรณ์เป็นหลัก ทั้งตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และขั้วต่อระดับพรีเมียมที่ได้รับการคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อประสิทธิภาพเสียงแบบบริสุทธิ์นิยม ปกติปรีแอมป์แบบแพสสีพไม่ต้องการแหล่งจ่ายไฟ แต่จะใช้ส่วนประกอบแบบพาสซีฟ เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และบางครั้งมีหม้อแปลงเพื่อลดทอนหรือขยายสัญญาณกับตัวโวลุ่ม แต่ Hattor Audio Ultimate Passive Pre-Amplifier ตัวนี้ ไม่มีหม้อแปลงใดๆ เลย ที่เห็นจากตัวจ่ายไฟ ซึ่งแยกออกจากตัวเครื่องนั้น มีไว้สำหรับ รีโมตคอนโทรล, บัฟเฟอร์ของขั้วต่อ RCA และ XLR Balanced ไฟดิสเพลย์หน้าปัด แสดงตัวเลขโวลุ่ม และแหล่งอินพุต (เลือกปิดได้) มีช่องต่อ XLR หนึ่งชุด RCA 2 ชุด สำหรับเชื่อมต่อเอาต์พุตสู่เพาเวอร์แอมป์ ส่วนอินพุตแหล่งสัญญาณขาเข้าแบบ XLR มี 3 ชุด และ อินพุต RCA อีก 2 ชุด ซึ่งผู้ออกแบบแนะนำว่าถ้าทำได้ควรใช้ช่อง XLR เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ผมหาข้อมูลของ Hattor Audio ได้ไม่มากนักทางออนไลน์ แต่ในกลุ่มนักเล่นไฮเอ็นด์ ทางเว็บไซต์ ได้มีการกล่าวถึงกันมากพอดู นักเล่นคนหนึ่งกล่าวว่า Hattor Passive Preamp ที่เขาเป็นเจ้าของอยู่นั้นยอดเยี่ยมมากในความเห็นของเขา โดยเขาเป็นเจ้าของปรีแอมป์ราคาติดเพดานไฮเอ็นด์ ประมาณ 20 ตัว โดยมีอย่างน้อย 2 ตัวที่มีราคาสูงกว่า 10,000 เหรียญ ‼️ • Hattor Audio Ultimate Mono Power Amplifier เพาเวอร์แอมป์โมโนบล็อกชุดนี้ เป็นวงจรขยายแบบ New Class D ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก Hattor Audio แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีคลาส D ก้าวมาไกลสูงสุดถึงจุดอุดมคติแล้วจริงๆ เสียงที่สะอาด รายละเอียดดีเยี่ยม และมีพลังเกินพอสำหรับขับลำโพงทุกคู่ ขออธิบายนิดหนึ่งเกี่ยวกับแอมป์ คลาส D นะครับ หลายคนหรือแม้แต่ผมเอง บางครั้งก็อาจจะเผลอเข้าใจผิดว่า มันคือแอมป์ Digital แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ มันจะคล้ายกับแอมป์ คลาส T ที่คุณบ็อบ คาร์เวอร์ เคยนำเสนอในอดีต คือการทำงานด้วยระบบสวิตชิ่ง (Switching Power Supply) ภาคขยายจะทำงานในลักษณะสวิตช์ ปิด-เปิด ตามความถี่ของสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) ตามปกติภาคจ่ายไฟจะทำงานเต็มระบบไม่ว่าจะมีสัญญาณเข้ามาหรือไม่ จะมากหรือน้อย แต่สำหรับคลาส D จะขึ้นกับสัญญาณขยายเบา-แรง ไม่ต้องทำงานแบบเต็มที่ตลอดเวลา เครื่องจะไม่ร้อนเหมือนแอมป์คลาส A คลาส AB ทั้งหลาย (รายละเอียดแอมป์คลาส D ผมจะหาเวลามาเขียนอีกครั้งนะครับ) เทคโนโลยีแอมป์คลาส D ผ่านการพัฒนามายาวนาน ทำให้ปัจจุบันเป็นแอมปลิไฟร์ที่ บริษัทเครื่องเสียงไฮเอ็นด์หลายแห่งเลือกใช้งานครับ Hattor Audio Ultimate Mono Power Amplifier นั้น ใช้เทคโนโลยีขยายเสียง nCore ล่าสุดจาก Hypex ด้วยระบบขยายสัญญาณแบบคลาส D ที่สมบูรณ์แบบ มีความผิดเพี้ยนต่ำ และมีเสถียรภาพในการขับลำโพงได้ทุกประเภท เมื่อพิเคราะห์จากสเปคฯ นับว่าน่าทึ่งมาก ด้วยกำลังขับ 400 W/8 ohm, 700W/4 ohm, 550W/2 Ohm มีอัตราส่วนสัญญาณ ต่อเสียงรบกวน 125dB และถ้าดูตามสเปคฯ ให้ค่าความเพี้ยนทาง THD และ IMD เพียง 0.001 % ตอบสนองความถี่ได้ 2Hz – 50kHz 0/-3db • ทั้ง 3 เครื่องนี้ มีขนาดกะทัดรัดอย่างน่าแปลกใจ เลยทีเดียว ผลการทดสอบฟัง เป็นแอมป์ที่ถือว่า สวย รวยเสน่ห์ ตั้งแต่แรกเห็นแล้วละครับ เมื่อได้ฟังจริงบอกได้เลยว่า ทำให้ผมต้องนั่งอึ้งไปหลายนาที!!! จุดแรกที่น่าสังเกตคือ เป็นชุดแอมปลิไฟร์ที่เสียงสะอาดสุดๆ ตลอดทุกย่านความถี่ หากจะเคยได้ยินเสียงดนตรีที่งดงามสะอาดสุดๆ แบบนี้ เปรียบเทียบได้ว่ามันเสียงสะอาดเท่าเทียมกับแอมป์ราคาชุดละห้าแสนถึงหนึ่งล้านกว่าบาทที่ผมเคยฟังครับ‼️ จริงอยู่ว่าหลายองค์ประกอบ อาทิค่าไดนามิค Dynamic การสะวิง แรงพั้นช์จะได้ไม่เท่าแอมป์หลอด ระดับล้านบาท แต่โดยรวมคุณภาพของมันก็หายใจรดต้นคอแอมป์ราคาสุดโต่งได้อย่างน่าแปลกใจ... คือในใจตอนทดสอบคิดว่าถ้าผมมีงบสองแสนบาท ผมต้องเลือก Hattor Audio ชุดนี้แน่นอน เป็นชุดแอมปลิไฟร์ที่ทำให้ผู้ฟังเข้าถึงต้นฉบับเพลงที่บันทึกมาจากสตูดิโอแบบ “แนบชิดติดความเป็นจริง” ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความสวยงามทั้งตัวเครื่องและคุณภาพเสียง เปิดประสบการณ์ที่ถือว่า ล้ำค่ามาก กับปรีแอมป์แพสสีพที่ไม่มีไฟเลี้ยงวงจร และเพาเวอร์แอมป์ New Class D เซ็ตนี้ Hattor Audio Ultimate Passive Pre-Amplifierและ Ultimate Mono Power Amplifier เป็นชุดเครื่องเสียงที่ทรงเสน่ห์จริงๆ ทำให้ได้คุณภาพอันล้นเหลือ ซึ่งสรุปความโดดเด่นได้ดังนี้ 1. มีความ CLEAN หรือความสะอาดของเสียงอย่างมากในทุกๆย่านความถี่ 2. รายละเอียดระยิบระยับครบถ้วน 3. พลังเสียงที่มาพร้อมกับความลื่นไหลต่อเนื่องของดนตรี อย่างน่าทึ่ง 4. เสียงมีความสง่างาม มีชีวิต ฉ่ำ เนียน ฮาร์โมนิคงดงาม 5. แยกแชนแนลได้แม่นยำ อิมเมจเสียงถือว่า เข้าขั้น “สุดทาง” 6. มีบุคลิก ที่ไม่ใช่บุคลิกของเครื่อง แต่เป็นบุคลิกของเสียงดนตรีแท้ๆ 7. รายละเอียดช่วงดนตรีแผ่วเบา นับว่ามีความครบถ้วนอย่างมาก 8. เป็นชุดปรี เพาเวอร์ ที่เข้าถึงอารมณ์ในการฟังเพลงทั้งดิจิตอลและอนาล็อกอย่างดีและใกล้เคียงกัน 9. ออกแบบได้ลงตัวทั้งศาสตร์และศิลป์ คุณภาพเสียงตรงตามต้นฉบับการบันทึกเสียงจากสตูดิโอ ไร้การปรุงแต่ง และรูปทรงเครื่องสวยงามเป็นพิเศษ ข้อแนะนำ : ให้เลือกแมตช์กันทั้งชุด ปรี-เพาเวอร์ จะดีที่สุด และจับคู่ลำโพงที่มีความสะอาดเสียง จะแมตช์เป็นพิเศษครับ Hattor Audio Ultimate Passive Pre-Amplifier & Ultimate Mono Power Amplifier ให้ความลึกซึ้ง และลึกล้ำในการฟังดนตรีอย่างไม่เคยสัมผัสมาก่อนครับ ราคารวมทั้งชุด 200,000.- บาท (รับประกัน 3 ปี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 096 978 7424 Msound line : m_240956
Rega Nd3 / Nd5 / Nd7 Magnet Cartridge พัฒนาการหัวเข็ม MM ที่จะเปลี่ยนมาตรฐานไปตลอดกาล หลังจากได้สัมภาษณ์ รอย แกนดี้ เจ้าของและผู้ออกแบบ Rega ซึ่งเขาได้เปิดเผยว่า ทีม วิศวกรของบริษัทร่วมกันออกแบบหัวเข็มแผ่นเสียงชุดใหม่ ทั้งหัวเข็มแบบ MM และ MC ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทั้งหมดของโครงสร้างและระบบหัวเข็มเล่นแผ่นเสียงในปัจจุบัน และก็ได้มีโอกาสนำเอาหัวเข็ม3 รุ่นมาทดสอบใช้งาน คือ Rega Nd3 Rega Nd5 และ Rega Nd7 ที่ใช้ปลายเข็มแบบเพชร ที่เป็นผลลัพธ์จากการวิจัย พัฒนามายาวนานกว่า 10 ปี และนี่คือการยกระดับมาตรฐาน Cartridge ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยเทคโนโลยีนี้ Rega ได้นำขึ้นจดสิทธิบัตร หัวเข็มตระกูล Nd ทั้งหมด ถือว่าเป็นรายแรกของโลก ที่ใช้แม่เหล็กนีโอ-ไดเมียมกำลังสูงพิเศษในการออกแบบหัวเข็มชนิดแม่เหล็กที่เคลื่อนที่หรือ MM: Moving Magnet เป็นการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยสิ้นเชิง เป็นการออกแบบที่ยากลำบากที่สุดเท่าที่เคยมีการพัฒนาและดีไซน์หัวเข็มแผ่นเสียง การใช้ปลายเข็มเพชรที่มีโครงสร้าง "เส้นละเอียด" และทันสมัยที่สุดก็เพื่อผลการเกาะร่องแผ่นด้วยรายละเอียดขั้นสูงสุด สามารถเทียบเคียงได้กับ MC ระดับไฮเอนด์ Apheta 3 และ Aphelion ของ Rega เองเลยทีเดียว โครงสร้างของเนื้อเพชร ที่สร้างขึ้นโดยหลักการทางเคมีคัลขั้นสูงสุด ให้ตกผลึกแบบคริสตัลเชิงเดี่ยว Monocrystalline ขนาดเล็กเป็นพิเศษ ผ่านขั้นตอนการเจียรไน เป็นรูปทรง Fine Line จะมีรูปแบบที่มีพื้นที่สัมผัสแคบที่สุด โดยมีรัศมีเพียง 3µm (ไมครอน) เมื่อมองจากด้านบน และ 30µm ในแนวตั้งเมื่อมองจากด้านหน้า ปลายเข็มเพชรโพลีคริสตัลไลน์คุณภาพสูง ที่สร้างขึ้นนี้จะถูกยึดติดกับก้านอลูมินั่มกลม คุณสมบัติใหม่นี้ช่วยให้สามารถรับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กสุดในไวนิลได้อย่างแม่นยำในทันที อีกทั้งการยึดเกาะร่องจะเหนือกว่าหัวเข็มทั่วๆ ไป เนื่องจากพื้นที่สัมผัสเล็กจิ๋วของปลายเข็มเพชร จะส่งผลให้สามารถดึงรายละเอียดในระดับที่ยอดเยี่ยมออกมาได้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างหัวเข็มแบบ MM ขึ้นมา ในการออกแบบใช้รูปทรงเรขาคณิตของเครื่องกำเนิดใหม่ล่าสุดที่มีความสมมาตรที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้ได้ความสมดุลของช่องสัญญาณ ทั้งซ้าย ขวา ที่มีความแม่นยำสูง นอกจากนี้หัวเข็มตระกูล Nd ยังมีช่องว่างระหว่างขั้วที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อคุณสมบัติเชิงเส้นตรงและสัญญาณครอสทอล์ค (แยกแชนแนล) ที่เหนือกว่า ซึ่งจะให้เวทีเสียงที่กว้างกว่ารุ่นก่อนๆ มาก คาร์ทริดจ์ใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นด้วยคอยล์คู่แบบขนาน ที่มีขนาดจิ๋ว ซึ่งคอยล์นี้จะพันในตัวเรือนของหัวเข็มโดยใช้ลวดขนาด 38 ไมครอน และจะพันรอบหมุนเพียง 1,275 รอบพอดี ด้วยหลักการคำนวณอันพิถีพิถันนี้ จะกำเนิดค่าความต้านทานต่ำ และค่าต้านทานแบบเหนี่ยวนำที่ต่ำลงด้วย ซึ่งก็จะทำให้การตอบสนองความถี่สูงได้รับการพัฒนาย่านความถี่ที่ดีขึ้นอย่างมาก การประกอบตัวเรือนหัวเข็มทั้งชุด ด้วยโพลีฟีนลีนซัลไฟด์ (PPS) ที่ทำจากแก้วฉีดขึ้นรูปซึ่งมีความทนทาน จัดเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแกร่งสูง มีมวลต่ำ ทำให้มีผลช่วยลดความเครียดบนแบริ่งโทนอาร์ม และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ หัวเข็ม Nd7 จะถูกนำเสนอเป็นตัวเลือกที่ติดตั้งมาจากโรงงานในเครื่องเล่นแผ่นเสียง รุ่น Planar 6 และ Planar 8 หัวเข็ม Nd5 จะถูกนำเสนอเป็นตัวเลือกที่ติดตั้งมาจากโรงงานในเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่น Planar 3 และ Planar 6 หัวเข็ม Nd3 จะถูกนำเสนอเป็นตัวเลือกที่ติดตั้งมาจากโรงงานในเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่น Planar 2 และ Planar 3 และเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ Rega ต่อความยั่งยืน กลุ่มผลิตภัณฑ์ Nd จึงมีจำหน่ายอยู่ในบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลได้ 100% เท่าที่พิจารณา จากรายละเอียดหัวเข็มทั้ง 3 รุ่น มีข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ • รุ่น Nd7 ปลายเข็มทรง Fine line nude diamond จะมีขนาดเล็ก และแทรกตัวลงในร่องแผ่นได้แนบสนิทที่สุด • รุ่น Nd5 ปลายเข็มจะเป็นรูปทรง Elliptical nude diamond stylus • รุ่น Nd3 ปลายเข็มเป็นทรง Bonded Elliptical ทั้งหมดนี้ ทางโรงงานผู้ผลิตได้ระบุค่าน้ำหนักหัวเข็มอยู่ที่ 1.75 กรัม และหัวเข็ม Rega มีความพิเศษก็คือมีจุดยึดสามจุด ซึ่งเมื่อใช้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง โทนอาร์ม แบรนด์เดียวกันจะเหมาะสมมาก Test Report ผมเริ่มทดสอบหัวเข็มทั้ง 3 รุ่น สลับเรียงกันไปจากรุ่น Nd3, Nd5 และ Nd7 ด้วยเครื่องเล่นแผ่นเสียง Pro-Ject Debut2 รุ่น Limited สีเหลืองสด และมีการสลับไปใช้กับ Rega P10 ด้วย แรกสุดทดลองตั้งค่าน้ำหนักแบบเบากว่าสเป็คฯ ที่ 1.5 กรัม พบว่า Rega Nd เป็นหัวเข็มที่เกาะร่องแผ่นได้ดีมากๆ แม้จะตั้งน้ำหนักเบากว่าปกติ เจอแผ่นไวนีลที่บิดงอเล็กน้อย จะไม่มีอาการ เหิน กระโดด หลุดร่อง จากนั้น จัดปรับตั้งค่าน้ำหนักหัวเข็ม ตามสเป็คฯ ให้พอดีๆ คือที่ 1.75 กรัม (ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักของ Van den hul) เพื่อค้นหาว่า คุณภาพเสียงหัวเข็มรุ่นพัฒนาใหม่ของ Rega Nd Series นั้น สมบูรณ์แบบแค่ไหน บทสรุป มีดังนี้ 1. คุณภาพเสียงมีความโปร่งสะอาดรายละเอียดดีไม่แพ้หัวเข็มประเภท MC โดยเฉพาะช่วงปลายเสียงแหลม ถือว่าก้าวกระโดดจากหัวเข็มรุ่นก่อนหน้าของ Rega เป็นอย่างมาก 2. บุคลิกเสียงโดยรวมออกแนวสุภาพๆ สมจริง แต่ให้เนื้อหนังโดยรวมดูอิ่มลึกในช่วงเสียงต่ำมากยิ่งขึ้น ตรงนี้อาจจะเป็นสิ่งที่โดดเด่นไปกว่าหัวเข็มประเภท MC ทั่วไป 3. ผมรู้สึกนะครับว่าการแยกแชนแนลโดยเฉพาะรุ่น Nd7 ทำได้อย่างน่าทึ่ง สังเกตได้จากจุดตำแหน่งชิ้นดนตรีและเวทีเสียง ระหว่าง Nd5 และ Nd7 จะมีความใกล้เคียงกัน ยกเว้นรายละเอียดที่แผ่วเบา ลึก Nd7 ยอดเยี่ยมที่สุด 4. หัวเข็ม Nd3 จะรักษาโทนัลบาลานซ์ได้เท่าเทียมกับ Nd5 และ Nd7 ถือว่าให้มาตรฐานคุณภาพเสียงที่คุ้มค่ามาก Rega Nd3 จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของหัวเข็มในระดับราคาเดียวกัน เพราะ ความ Clean ของสัญญาณเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด หรือเรียกว่า กินขาดจริงๆ (เปรียบเทียบจากหัวเข็มที่ผมใช้อยู่ในราคานี้) 5. การรักษาโทนัลบาลานซ์ของหัวเข็มทุกรุ่นทำได้ดีเยี่ยม การกล่าวถึงเสียงอนาล็อกแท้ๆ Rega Nd Series น่าจะเป็นต้นแบบที่ดี ข้อสำคัญก็คือว่า Rega ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของหัวเข็มสำหรับเล่นแผ่นเสียงขึ้นมาแล้ว คือในระดับราคาเดียวกัน Rega Nd3 / Nd5 / Nd7 คือ New Standard ครับ 6. เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับหัวเข็มชุดนี้ แม้จะออกแบบมาให้ใช้ได้ทั่วไป แต่ก็แมตช์กับโทนอาร์ม และเครื่องเล่นแผ่นเสียงของ Rega มากที่สุด โดยเฉพาะการมีจุดยึดกับเฮดเชลล์สามจุดดังกล่าว การพัฒนาหัวเข็มแผ่นเสียงของ Rega Research ถือเป็นการก้าวสู่ยุคใหม่ และมาตรฐานใหม่ของหัวเข็มแผ่นเสียงที่มีราคาและคุณภาพน่าประทับใจอย่างยิ่งครับ Rega Nd3 ราคา 8,600.- บาท Rega Nd5 ราคา 15,000.- บาท Rega Nd7 ราคา 22,000.- บาท สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ตัวแทนจำหน่าย Komfort Sound โทร. 083 758 7771
KEF KUBE 12 MIE เสริมความถี่ต่ำให้อิ่มสมจริงและสมดุล ท่ามกลางกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางในการนำแอคทีฟซับวูฟเฟอร์ มาเสริมในลำโพงหลัก มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย มีทั้งคนพร้อมเปิดใจรับ กับผู้ที่ “หัวเด็ดตีนขาด” ก็ไม่เอา วิวาทะทั้งหลายในกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ทั้งสองฝั่งฟากแนวคิดนั้น ผมก็มีมุมมองของตัวเองเช่นกันคือ 1. ไม่ได้เห็นด้วยว่า การจัดชุดซิสเต็มฟังเพลงสองแชนแนล ชุดเล็ก-ชุดใหญ่ ชุดไหนๆ ก็ต้องพ่วง Sub-Woofer เสมอไป 2. และก็ไม่ได้เห็นด้วยว่า ถ้าจัดชุดเครื่องเสียงฟังเพลง 2 แชนแนล ห้าม Sub-Woofer มาปรากฏกายในชุดเด็ดขาด ถือเป็นข้อต้องห้าม (ของใครไม่ทราบเหมือนกัน?) ทุกอย่างควรขึ้นกับ หลักการ เหตุผล ในเรื่องของห้อง ซิสเต็ม ความต้องการของผู้ฟัง สไตล์เพลง ที่ออดิโอไฟล์แต่ละท่านย่อมมีข้อจำกัดอันแตกต่างกันไป ***ได้แสดงทัศนะไปหลายครั้งแล้วในเพจแห่งนี้ ซึ่งผมจะมีลิ้งก์บางส่วนมาแปะไว้ท้ายบททดสอบ KEF KUBE 12 MIE ดังนี้นะครับ*** https://www.facebook.com/share/19hTvJ8DcG/?mibextid=wwXIfr https://www.facebook.com/share/14iLfWiC1K/?mibextid=wwXIfr https://www.facebook.com/share/12EY4Ypys58/?mibextid=wwXIfr https://www.facebook.com/share/1A3TRMvdGt/?mibextid=wwXIfr https://www.facebook.com/share/p/14xjoKZyRe/?mibextid=wwXIfr https://www.facebook.com/share/p/14yFmR4uz4/?mibextid=wwXIfr ความเห็นส่วนตัว การใช้หรือไม่ใช้ ผมยึดหลัก High Fidelity คือ ความเสมือนจริง และการย่อสเกลดนตรีจริงมาไว้ในห้องฟัง ถ้าผู้ฟังรู้สึกได้ถึงความพอดีแล้ว ก็ไม่ต้องไปเติมอะไร แต่ถ้าสียงย่านความถี่ต่ำไม่พอ ก็สามารถจะเสริมให้มัน “พอดี” ยิ่งขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เติมให้มันเกินจากเสียงดนตรีจริง หรือเกินกว่าสิ่งที่ Studio เขาบันทึกมา อันนี้ย่อมไม่ใช่แนวทาง และจุดประสงค์ การใช้ Sub-Woofer ของผมครับ จากนี้ไปคือผลการทดสอบใช้งาน KEF KUBE 12 MIE ที่มีบทสรุปน่าสนใจ บันทึกเอาไว้ให้พิจารณากัน • การพัฒนาของบริษัทลำโพงระดับโลก อย่าง KEF นั้น มีรากฐานมายาวนานนับแต่กำเนิดในปี 1961 (63ปี) การออกแบบสินค้าใดขึ้นมาใหม่ จะมีเหตุและผลรองรับ โดยเฉพาะความก้าวหน้าในเทคโนโลยี ที่ดีขึ้นและเอื้อประโยชน์กับผู้ใช้งานจริงๆ ส่วนตัวผมก็เป็นหนึ่งในผู้ใช้สินค้าของ KEF อย่างเช่น KEF BBC Monitor LS3/5 A ได้จัดเอา KEF KC62 มาเสริมความถี่ต่ำ สลับกับ Rogers AB1 (Passive Sub-Woofer) เพราะเมื่อฟังดนตรีบางประเภทเช่น วงแจ๊ส บิ๊กแบนด์ ซอฟท์ร็อค และคลาสสิกคัล มันมีความจำเป็นตามสมควรสำหรับผม หรือลำโพง BBC Monitor Rogers LS3/5 A ผมตัดสินใจซื้อแอคทีฟซับ Rogers AB3a มาใช้งานร่วมกันเป็นเซ็ต เพราะลำโพงหลักในตระกูลนี้ ลงความถี่ต่ำลึกได้เพียง 70Hz เท่านั้น ดังนั้น เหตุและผล จึงเป็นไปตามความต้องการของตนเองเป็นหลัก • KEF KUBE MIE นั้น เป็นความพยายามพัฒนาแอ็คทีฟซับวูฟเฟอร์ ที่ดีไซน์แต่เดิมใช้งานเฉพาะสำหรับโฮมเธียเตอร์ ให้เพิ่มความสามารถตอบสนองการฟังเพลงด้วย พัฒนาถึงจุดที่ มีการใช้ระบบ DSP (Digital Signal Processor) ที่คิดค้นเองมาช่วยควบคุมการทำงานระบบ SUB ให้สนองตอบการฟังด้วยกันทั้งสองรูปแบบ และแอคทีฟซับวูเฟอร์ KEF รุ่นที่ผมเลือกมาทดลองใช้งานคือ KUBE 12 MIE ที่สามารถลงความถี่ต่ำได้ลึกถึง 22Hz ต้องการให้มาเสริมช่วงต่ำกว่า 48Hz ของลำโพงหลัก KEF Q Concerto META ความหมายระบบ DSP ที่อัพเกรดให้เหมาะกับการฟังเพลง MIE : Music Integrity Engine เป็นระบบ Digital Signal Processor ซึ่ง KEF ค้นคว้า วิจัยพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเองอย่างยาวนานหลายปี เพื่อการควบคุม แอคทีฟซับวูฟเฟอร์ ให้ผลักอากาศได้แม่นยำ ฉับไว เสียงบริสุทธิ์ ความเพี้ยนต่ำ สามารถให้ความกลมกลืนลำโพงหลักได้ง่าย จุดตัดความถี่สูงสุด KEF จงใจออกแบบให้อยู่ไม่เกิน140Hz และปรับค่าลงไปได้ต่ำสุดที่40Hz KUBE 12 MIE มีโครงสร้างตู้เป็นตู้ปิดทึบ Acoustic Suspension ตัวขับเสียงขนาด 12 นิ้วยิงเสียงออกด้านหน้า ช่วยให้ง่ายต่อการจัดวาง และยิงเสียงไปในทิศทางเดียวกันกับลำโพงหลัก คุณสมบัติอีกส่วนหนึ่ง IBX หรือ Intelligence Bass Extension โดยในส่วนนี้ จะทำหน้าที่คำนวณสัญญาณเสียงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เบสความสมจริงลงลึก และคงไว้ซึ่งไดนามิคหรือพลังตลอดระดับความดังของเสียง KUBE 12 MIE มี Room Position EQ สามตำแหน่งให้เลือกวาง และปรับใช้ในสภาพความเป็นจริงในห้องคือ • In Room วางในห้องทั่วไป • Corner วางเข้ามุมห้องที่เป็นมุมชนกัน 90 องศา • Wall / Cabinet วางชิดผนังด้านใดด้านหนึ่ง มี Power Mode เลือกเปิดตลอดเวลา หรือเปิดเมื่อมีสัญญาความถี่ต่ำเข้า และใช้งานแบบ12 V trigger KEF ดีไซน์ แอคทีฟซับวูฟเฟอร์ KUBE MIE ทั้งหมด4 รุ่นคือ KUBE 15 MIE, KUBE 12 MIE, KUBE 10 MIE และ KUBE 8 MIE ตัวขับเสียงเป็นแบบเดี่ยว ยิงแบบ Front Firing ขนาดวูฟเฟอร์ ให้ดูที่รหัสรุ่นได้เลย คือ15-12-10 และ 8 นิ้วตามลำดับครับ การเลือก KEF KUBE 12 MIE มาทดสอบ เพราะเป็นรุ่นกลาง พอเคราะห์แล้ว เหมาะกับ KEF Q Concerto META และเพื่อการบาลานซ์ที่ดีผมนำมาใช้ 2 ตู้ ทั้งแชนแนลซ้าย และขวา สำหรับกำลังขับในตัวตู้ของ KEF KUBE 12 MIE คือ 300 วัตต์ คลาส D ขนาดตู้ 410 x 393 x 410 มิลลิเมตร ตอบสนองความถี่ 22Hz - 140Hz (±3dB) ตัวขับเสียงขนาด 12 นิ้ว ยิงเสียงออกด้านหน้า • ผลจากการเซ็ตอัพ KEF KUBE 12 MIE ภายในห้องของผมที่มีพื้นที่ ขนาด 3.5 x 4.5 เมตร KEF KUBE 12 MIE เลือกต่อสัญญาณ ได้ทั้งแบบ High (พ่วงสายลำโพง) และช่อง Smart Connect LFE แต่ผมเลือกต่อจากช่อง Smart Connect LFE ที่ช่อง RCA หลังจากทดสอบ Setup ก็ได้ระยะการวางที่เหมาะสมคือ 1. วางตู้ซับให้อยู่ริมด้านนอกลำโพงหลัก 2. ให้แนวระนาบด้านหน้าของ KEF KUBE 12 MIE อยู่เสมอกับลำโพงหลัก 3. ระยะห่างผนังหลัง อยู่ที่ 90 เซ็นติเมตร 4. ระยะห่างผนังด้านข้างประมาณหนึ่งฟุต หรือ 30 เซนติเมตร 5. เลือกจุดตัดความถี่ต่ำ หรือ Cross over point ที่ 50Hz 6. เลื่อนระดับโวลุ่มไปที่ประมาณ บ่าย 13.00 น. (Phase เฟส 0) 7. เลือกโหมดการใช้งานที่ Always 8. เลือกโหมด EQ ที่ In-roomก่อนปรับเซ็ตเสียง ให้เสียงที่กลมกลืนน่าพึงพอใจมากในการทำงานระหว่าง KEF Q Concerto META และ KUBE 12 MIE ถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมลงตัว ที่น่าสนใจคือ ปุ่ม Phase ผมปรับไว้ที่ ศูนย์ 0 ตลอด โดยไม่ต้องปรับมาทาง 180 องศา แต่อย่างใด ตัวตู้ KUBE 12 MIE มีการใช้ผ้าหุ้มสีดำจากด้านหน้าไปจรดด้านหลังมิดชิดให้ความรู้สึกสัมผัสเป็นชิ้นเดียวกัน ***สำหรับห้องอื่นๆ อยากจะเริ่มต้นในแบบอย่างที่ผม Set up นี้ ก็ได้ครับ แล้วประยุกต์ ปรับแต่ง Set up เพิ่มเติม*** • เทคนิคในการปรับ พยายามตั้งจุดตัดครอสโอเวอร์ไปทางความถี่ต่ำลึก 40-50-60 Hz เอาไว้ก่อน - ปรับปุ่ม Volume คู่กับจุดตัดความถี่ แล้วเร่งไปจนถึงจุดที่ได้ยินเสียงจากซับวูฟเฟอร์โดดเด่นถนัดชัดเจน จนรู้สึกได้ง่าย - และจากนั้น ค่อยๆ ลดระดับลงเหลือแผ่วเบาจนแทบจะไม่ได้ยินเสียงจากการทำงานซับวูฟเฟอร์ - จากนั้น ให้เราปรับหาจุดกลางระหว่างสองจุดดังกล่าวนั้น ว่าตรงที่ใด กลมกลืนกับลำโพงหลักที่สุด - ในขณะที่ปรับ อาจจะมีบางช่วงที่ความถี่ต่ำจาง หรือความถี่ต่ำโด่งเป็นช่วงจังหวะตามเสียงดนตรี - แสดงว่า ปรากฏการณ์นั้น เราจะต้องปรับ ขึ้นมาทาง 60-80Hz หรือลดลงไปทาง 40Hz อย่างใดอย่างหนึ่ง (ค่าจุดตัดสูงสุดอยู่ที่ 140Hz) ตรงนี้จะเป็นจุดที่ Sensitive ดังนั้น ใช้เวลาปรับซ้ำๆ ดูหลายๆ รอบ เพื่อหาจุดสมดุล ไม่ต้องรีบร้อนครับ - ในการปรับใช้กับระบบโฮมเธียเตอร์ที่ช่อง .1 Channel อาจจะเริ่มจาก 60Hz ขึ้นไปหา 80Hz ซึ่งตรงนี้น่าจะต้องใช้ภาพยนตร์ที่ชมบ่อยๆ และคุ้นเคยครับ - ผมใช้ Life Audio Signature Mellow ตัวรอง มาเสริมขาทั้งสี่มุม ให้ความกระชับเสียงต่ำดีขึ้นไปอีก ดังนั้นท่านใดจะพิจารณาหาอุปกรณ์ ตัวรองมาเสริมกำจัดไวเบรชั่นส่วนเกินก็จะยิ่งดีครับ - หากไม่อยู่ในลักษณะ หรือระยะเดียวกับที่ผมเซ็ตอัพ ให้เลือก EQ ตามลักษณะการวางก่อนแล้วค่อยปรับหาความสมดุลได้ครับ ทั้ง In Room Corner, Wall / Cabinet บทสรุปสำหรับ KEF KUBE 12 MIE คือ - เป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจมาก เพราะซับรุ่นใหม่นี้กลับปรับ Set up ไม่ยากอย่างที่คิดเอาไว้เลย - เทียบเคียงกับตู้ซับที่ผมเคยปรับมาแล้ว KUBE 12 MIE ถือว่าง่ายที่สุดครับ - แน่นอนว่า การกลมกลืนเข้ากันได้ระหว่าง KEF Concerto META กับ KUBE 12 MIE ถือว่าลงตัวแทบจะเป็นหนึ่งเดียวกัน - เมื่อใช้ KUBE 12 MIE กับลำโพงหลักต่างแบรนด์กัน เอาเฉพาะลำโพงที่ผมซื้อไว้ใช้เองหลายคู่ หลายแบรนด์ พบว่าจะไม่สมดุลกับลำโพงแนววินเทจรุ่นเก่านัก แต่กับลำโพงอย่าง ELAC ตั้งแต่ BS403, PSB Alpha P5 , NHT SuperOne 2.1 กลับให้ความกลมกลืน ปรับง่าย แสดงถึงว่า ลำโพงยุคใหม่ทั้งหลาย น่าจะใช้ร่วมกันได้ แม้จะต่างแบรนด์ ดังนั้นให้ลองหาโอกาสฟังจริงก่อนตัดสินใจ ข้อแนะนำ - ห้องขนาด 12 -15 ตารางเมตรขึ้นไปสามารถใช้ KUBE 12 MIE สองตู้ได้ ถ้าต่ำกว่า ขนาด 12 ตารางเมตรลงมา ควรใช้รุ่น KUBE 12 MIE เพียงตู้เดียว หรือ KUBE 10 MIE , KUBE 8 MIE สองตู้แทน - การใช้ซับ ตู้เดียว หรือ 2 ตู้ ควรพิจารณาจากขนาดห้อง และสไตล์เพลงที่คุณฟังเป็นหลักนะครับ - สำหรับลำโพงขนาดเล็ก อาทิ LS3/5 A Harbeth P3 ESR, ProAc Tablette 10 เหล่านี้จะปรับให้สมดุลกับ KEF รุ่น KC62 ง่ายกว่า อันเนื่องจากขนาดและดีไซน์ จุดเด่น KEF KUBE 12 MIE - ปรับเซ็ตอัพง่าย ระบบลำโพงทำให้โอกาส Boom น้อยอย่างยิ่ง - เมื่อปรับได้ลงตัว ไม่ใช่แค่เสริมเสียงต่ำให้สมบูรณ์ขึ้น แต่จะให้เสียงกลางเสียงร้องดูอิ่มฉ่ำขึ้นอีก อย่างเห็นได้ชัด - ฟังเพลงจากอัลบั้มคลาสสิก Telarc ดูเหมือนฟิลลิ่งของวงออกเคสตร้ายิ่งใหญ่ขึ้นมาก โดยเฉพาะเวทีเสียงที่โอ่อ่า - ขั้วต่อด้วยสายลำโพง (EXP) ดูจะเป็นขั้วต่อที่เล็กไป จึงแนะนำให้ต่อ Line Level ทาง RCA ดีกว่า และสายไฟ AC จะเป็นขั้วแบบ C7 ธรรมดา (ไม่ใช่แบบ IEC มีกราวนด์) แนะนำให้อัพเกรดสายที่ดีกว่าได้ครับ การเสริม Active-Subwoofer ควรจะพิจารณาตามความเหมาะสม ตามที่เรียนไว้เบื้องต้นในเรื่องของรสนิยม หรือขนาดห้อง และข้อจำกัดของคุณเสมอ แต่ต้องไม่ลืมพิจารณาเรื่องความสมดุลของย่านความถี่เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง ให้เห็นชัดขึ้น คือคุณจะพึงพอใจเล่นลำโพงเดี่ยว แบบตั้งพื้นคู่เดียว อาทิ KEF รุ่น Q11 Meta หรือเลือกทางที่สอง KEF Q Concerto Meta ผนวก KEF KUBE 12 MIE อันเนื่องจาก ขนาดห้อง ความสะดวก ความสมดุลในการจัดตำแหน่ง และข้อจำกัดรวมถึงความต้องการของตนเอง ทุกอย่างมีทางให้เลือกเสมอ KEF KUBE 12 MIE ราคาตู้ละ 39,900.- บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ทดลองฟังได้ที่ ร้านจำหน่ายเครื่องเสียงชั้นนำทั่วไป หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: บริษัท วีแกดซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เลขที่ 9/7 ซ. รัชดาภิเษก 18 ถ. รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทร 02-692-5216 https://www.vgadz.com/kef/ https://www.facebook.com/KEFaudiothailand
The Light of Audiophile ตอนที่ 4 บทวิพากย์ วิธีการเล่นเครื่องเสียงหลากรูปแบบ ขออนุญาตตอกย้ำอีกครั้งในบทความชุดนี้นะครับ ว่าเป็นเรื่องของประสบการณ์ ความเห็นต่างๆ มีความผิด-ถูก มากน้อย จะมีความตรงต้องกับหลักวิชาการ หรือไม่ มาก-น้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทุกท่าน เพราะคือนี่คือประสบการณ์ของผมเท่านั้น จากนี้ไปจะบอกเล่า ถึงประสบการณ์การเล่นเครื่องเสียงรูปแบบหลากหลายที่ได้รับประสบการณ์มาตลอดช่วงชีวิตของการเล่นเครื่องเสียงครับ ดังที่กล่าวในบทที่ผ่านมา การเล่นเครื่องเสียง โดยสรุปมี 1. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว หรือถ้านับการเชื่อมต่อสายลำโพงจะถือเป็น Single-Wire 2. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน การเชื่อมต่อสายลำโพงจะเป็น Bi-Wire 3. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน การเชื่อมต่อสายลำโพง และแอมป์จะแยกอิสระ เป็น Bi-Amplifications หรือ Tri-Amplifications 4. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน แบบเพิ่ม Super-Tweeter เพิ่ม Active Sub-Woofer ในแต่ละรูปแบบหากกล่าวจากประสบการณ์จริงๆ โดยสรุป ไม่มีแบบใดดีที่สุด หรือแย่ที่สุด เป็นเพียงวิถีทางหรือกรรมวิธีการเข้าถึงคุณภาพ และศักยภาพของเสียง ตามความตั้งใจของผู้เล่นเครื่องเสียงเป็นหลัก 1. ระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว แบบ Single-Wire มีข้อดีคือปราศจากความซับซ้อนใดๆ มีแหล่งโปรแกรมและแอมปลิไฟร์หนึ่งเครื่อง ลำโพงหนึ่งคู่ทุก อย่างเริ่มต้นและจบลงได้อย่างง่ายดาย โอกาสที่จะได้รับความผิดเพี้ยนจากการเชื่อมต่อระบบที่ซับซ้อนแทบไม่มี ซึ่งหากเลือกชุดเครื่องเสียงที่ดีและแมตชิ่งก็จะได้คุณภาพที่ดีมากเช่นกัน จุดอ่อนอาจจะไปอยู่ที่การปรับปรุงหรือการยกระดับนั้น อาจจะต้องลงทุนแบบยกอุปกรณ์ใหม่ไปเลย หมายถึงต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นชิ้นๆ ไป และอาจจะไม่ใช่ชิ้นเดียวด้วย ยกตัวอย่างเมื่อเล่นไประยะหนึ่ง แล้วต้องการเสียงที่มีรายละเอียดและพลังมากยิ่งขึ้น ต้องเปลี่ยนลำโพง รุ่นใหญ่กว่าเดิม ก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแอมป์รุ่นใหญ่ไปด้วย มิฉนั้นจะไม่สมดุลซึ่งกันและกัน ดังนั้น การเริ่มต้นเล่นแบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว แบบ Single-Wire สมควรต้อง “เผื่อแอมป์” หรือ “เผื่อลำโพง” ให้เป็นรุ่นที่สูงกว่าปกติ อย่างใดอย่างหนึ่งถ้าทำได้ เพราะเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณมากเกินจำเป็น หรือเกิดความยุ่งยากกว่า เปลี่ยนชิ้นหนึ่ง แล้วจะต้องเปลี่ยนอะไรตามมาอีก 2. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน ด้วยการเชื่อมต่อสายลำโพงเป็น Bi-Wire ในประสบการณ์ส่วนตัวผม ยอมรับว่าไม่ค่อยแนะนำวิธีการนี้ เพราะที่ผ่านมา ลำโพงแบบ ไบร์-ไวร์ หลายคู่ก็มักจะมีปัญหาอาการผิดเฟสได้ง่าย ถ้าแอมป์ที่ใช้ขับนั้นมีกำลังไม่มากพอ หรือศักยภาพในการควบคุมลำโพงไม่ถึง เมื่อการควบคุมย่านความถี่ อิมพิแดนซ์ต่างๆ ไม่แม่นยำ ผลตามมาคือเสียงแต่ละย่านความถี่เปลี่ยนแปลงวูบวาบเกือบตลอดเวลาของการเพลย์แบ็ค แต่ถ้าจัดระบบดี แอมป์ดี ลำโพงดี สายลำโพงดี เข้ากันหรือแมตช์กันได้ลงตัว ระบบนี้ก็จะมีข้อดีเด่นตรงเสียงจากลำโพงจะเปิดกว้างมากขึ้น เสียงหลุดลอยออกจากตู้ และมีมิติชัดเจนขึ้น แต่การใช้สายลำโพงสองชุด จากแอมป์ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ที่ไม่ค่อยจะคุ้มค่านัก ระหว่างใช้สายลำโพงรุ่นสูงๆ ชุดเดียว ในระบบ Single-Wire มักจะดีกว่า ระบบ Bi-Wire ที่ต้องแบ่งงบไปใช้สายลำโพงระดับปานกลางสองชุด ผมจึงไม่ค่อยแนะนำระบบ Bi-Wire ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ อีกประการหนึ่ง การเล่นระบบ Bi-Wire นั้น มักจะทำให้โทนัลบาลานซ์ของย่านความถี่ควบคุมยาก เสียงกลางแหลมมักจะพุ่งล้ำหน้าเกินจริง การประสานกันของตัวขับเสียงแหลมและเสียงทุ้ม เมื่อจะต้องทำการเปล่ง “เสียงกลาง” หรือช่วง Midrange ออกมาอาจจะลักลั่นกันได้ง่ายอีกด้วย เรียกว่ามีข้อดีตรงเสียงเปิดกว้างขึ้น แต่ถ้าในระบบมีอะไรเป็นจุดอ่อน ย่อมผิดเฟสได้ง่าย บางครั้งฟังขาดๆ เกินๆ ไม่เป็นธรรมชาตินัก จึงอยากให้ถือเป็นข้อพิจารณา ถ้าจะเล่นระบบ Bi-Wire ทุกอย่างในระบบต้องเข้าขั้นดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ 3. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน ทั้งการเชื่อมต่อสายลำโพง และแอมป์จะเป็น Bi-Amplifications แยกส่วนทั้งหมด อาจจะมากกว่า เช่นเป็น Tri-Amplifications ก็เป็นไปได้ เพราะรูปแบบนี้ เริ่มมาจากระบบงาน PA หรือ Professional ที่สามารถแยกย่านความถี่ ตั้งแต่ 2 ถึง 4 หรือ 5 ย่านความถี่ ให้แอมปลิไฟร์ขับลำโพง แต่ย่านความถี่อย่างอิสระ ดังที่เรียนได้ว่าอะไรก็ตามที่เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนสูง ก็จะอาจจะเกิดจุดความเพี้ยนของรอยต่อ ได้เสมอ ต้องพิจารณาตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์ ครอสโอเวอร์ ปรีแอมป์ เพาเวอร์แอมป์ สายสัญญาณ สายลำโพง ต่อเชื่อมระหว่างระบบอย่างรอบคอบที่สุด มิฉะนั้นระบบขนาดใหญ่เช่นนี้ จะผิดพลาดได้ทุกจุด ข้อดี ก็คือเราสามารถควบคุมกำหนดคุณภาพเสียง ศักยภาพเสียงระดับความดังย่านความถี่ ที่ปรับแต่งให้เป็นไปตามความต้องการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไปจนถึงจุด “อุดมคติ” ได้ แต่ในความใหญ่ของระบบนั้น ก็จะมักจะแลกมาด้วย ความประณีตพิถีพิถัน ความชำนาญของการจัดซิสเต็ม การจูนอัพ การเซ็ตอัพที่เพียบพร้อมจริงๆ เพราะหากพลาดจุดใด จุดหนึ่ง มีสิทธิ์ที่จะยุ่งเหยิง แก้ไขปัญหาไม่จบสิ้นได้ด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีลำโพงระดับไฮเอ็นด์บางคู่มีข้อแนะนำเรื่องของแอมปลิไฟร์ ที่จะใช้ในระบบ Bi-Amplifications หรือ Tri-Amplifications รวมถึงบางรุ่น ภายในตู้ได้บรรจุแอมป์ขับลำโพงเสียงทุ้ม ซับวูฟเฟอร์มาในตัวอีกต่างหาก หรือลำโพงบางคู่มีเครื่องอีเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์มาให้เสร็จสรรพ เพื่อตัดแบ่งความถี่ให้กับแอมป์ ผมไม่แนะนำให้นักเล่นมือใหม่ลงไปเล่นถึงระบบ แยกแอมปลิไฟร์ขับในแต่ย่านความถี่แบบนี้นะครับ ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญปรับแต่ง จูนอัพ และติดตั้งให้ เข้าทำนองว่า ระบบที่ใหญ่ที่สุดแบบนี้ พร้อมจะดีอย่างน่าใจหาย และพร้อมจะร้ายจนปวดศีรษะ ไม่เว้นแต่ละวันก็ได้เช่นเดียวกัน 4. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน แบบเพิ่ม Super-Tweeter เพิ่ม Active Sub-Woofer ระบบนี้ แรกสุดเป็นการออกแบบเพื่อแก้ไขความถี่ไม่สมบูรณ์ของระบบเสียง ที่อาจจะเนื่องมาจาก ข้อจำกัดของระบบ หรือสภาพอะคูสติกต่างๆ ที่ทำให้ย่านความถี่ไม่ครบตามที่ต้องการ แบบแรก เสริมตัวขับความถี่สูงสุดโดยเฉพาะ คือ Super-Tweeter เข้าไปในลำโพงเดิม ด้วยการต่อพ่วงเข้าไปในชุดลำโพงเดิม แบบที่สอง เสริม Sub-Woofer เข้าไปในลำโพงชุดเดิม วิธีการนี้ก็คือ เป็นการเสริมการเล่นแบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว ด้วยการเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง คือเพิ่มความถี่สูงช่วงบน และความถี่ต่ำช่วงล่าง กรณีของซูเปอร์ทวีตเตอร์ คือการเพิ่มย่านความถี่สูง ที่สูงกว่า 20kHz ขึ้นไป จนถึง 50,000Hz ซึ่งย่านความถี่ตรงนี้ เริ่มมีการให้ความสำคัญอันเนื่องมาจาก การกำเนิดของระบบดิจิตอลออดิโอ Super Audio CD รวมถึงความต้องการสนองตอบดนตรีสมัยใหม่ที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ผู้ออกแบบซูเปอร์ทวีตเตอร์ให้คำอธิบายว่า ลำโพงซึ่งตอบสนองความถี่ 20 ถึง 20,000 เฮิร์ตซ์ทั้งหลาย ในความเป็นจริงนั้น ย่านความถี่ช่วงปลายที่ 20,000 เฮิร์ตซ์ จะมีลักษณะเอียงลาดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ยินความถี่ช่วงปลายได้ไม่ถึง 20,000 เฮิร์ตซ์จริง ซูเปอร์ทวีตเตอร์จึงเข้ามาช่วยต่อเติมย่านความถี่ตรงนี้ ให้ย่านความถี่เสียงแหลมนั้นไปไกลสูงสุดยิ่งขึ้น การเสริมซูเปอร์ทวีตเตอร์จะทำให้เสียงโดยรวมของลำโพงนั้น มีย่านความถี่ช่วงปลายที่มีรายละเอียดสูงมากยิ่งขึ้น โดยซูเปอร์ทวีตเตอร์ อาจจะออกแบบให้มีตัวปรับหรือเลือกย่านความถี่จุดตัดที่เหมาะสมจากตัวซูเปอร์ทวีตเตอร์ด้วย การเสริมซูเปอร์ทวีตเตอร์นั้นมักไม่ค่อยมีผลเอฟเฟ็กต์อะไรรุนแรงกับลำโพงเดิม เป็นการจัดการเซ็ตอัพที่ง่าย แต่ควรจะถามตัวเองด้วยว่าเรายังขาดความถี่ช่วงปลายเสียงแหลมจริงหรือไม่ และถ้าขาดเราจะเพิ่ม ซูเปอร์ทวีตเตอร์ของแบรนด์ใดเข้าไปในระบบจึงจะเหมาะที่สุด โดยไม่ทำให้บุคลิกดั้งเดิมของลำโพงหลักนั้นเปลี่ยนแปลงไป แบบที่สอง การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน แบบเพิ่ม Active Sub-Woofer ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน มีการพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์กันมากในเรื่องของการเสริม Active Sub-Woofer เข้าไปในระบบดั้งเดิมที่เป็นสเตอริโอโฟนิค ทางสายหนึ่งก็มีการแอนตี้ ว่าไม่ดี อีกทางสายหนึ่งก็เปิดรับว่าเป็นการเสริมย่านความถี่เสียงต่ำ ที่ทำให้ระบบนั้น สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในฐานะผมเป็นนักเล่นซึ่งมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเสียงดนตรีจริงที่เวทีคอนเสิร์ต ในคอนเสิร์ตฮอลล์ รวมถึงลงไปทำงาน ในห้องบันทึกเสียง กับ Sound Engineer ซึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงเพลงต่างๆ ให้เราได้ฟัง อยากจะเสนอความคิดเห็นว่า หากวัดด้วยอัตราส่วนการย่อสเกลดนตรีจริง ลงมาอยู่ในห้องฟัง สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นในระบบเสียงนั้น - หากขาด เราก็สามารถเติมเข้าไปได้ - หรือสิ่งใดที่พอดีอยู่แล้วก็ไม่ควรจะเสริมเข้าไป ทุกสิ่งอยู่ที่วิจารณญาณ และความพึงใจของผู้ที่เป็นเจ้าของซิสเต็มเอง เราก็ต้องยอมรับกันว่าย่านความถี่เสียงต่ำลึกนั้นเป็นเรื่องที่เป็นปัญหามาตลอดสำหรับผู้ที่เล่นระบบเสียงภายในบ้าน ลำโพงคู่หนึ่งๆ คู่เดียว อาจจะไม่สามารถลงความถี่ต่ำลึกได้อย่างพอเพียง จึงได้เกิดวิธีการเล่นด้วยการเสริม Active Sub-Woofer เข้าไปในระบบ ดังที่เรียนไว้เบื้องต้นว่าการเล่นเครื่องเสียงด้วยวิธีการใดก็ตาม จะไม่มีวิธีใด ที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด แต่อาจจะมีวิธี ซึ่งเราทุกคนสามารถไปถึงยังจุดหมายได้อย่างสมบูรณ์ การเสริม Active Sub-Woofer เข้าไปในระบบนั้น แรกเริ่มเดิมที มีผู้ออกแบบผู้ผลิตลำโพงหลายบริษัท มีการนำเสนอ Active Sub-Woofer ให้กับลำโพงบางรุ่นของเขา เพื่อให้ได้ความถี่อันครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนก็คือ Rogers LS3/5A ที่มีการออกแบบ AB-3a ลำโพง Active Sub-Woofer ให้สามารถเสริมความถี่ต่ำเข้าไปได้ มีจุดตัดความถี่ มีที่ปรับระดับอินพุต เฟสบาล้านซ์ ให้กลมกลืน ในห้องที่อาจจะมีความแปลกแยกแตกต่างกันไป จุดเด่นของการใช้ Active Sub-Woofer ก็คือ ถ้าจัดวางตำแหน่งและเซ็ตอัพได้ถูกต้อง ใช้จำนวนตู้ Sub ให้พอดีกับสเกลของเสียงดนตรี (ไม่มากเกินหรือน้อยเกิน) การฟังเพลงจากชุดเครื่องเสียงจะดูสมจริงมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของการเซ็ตอัพหรือการใช้จำนวนตู้ Active Sub-Woofer เนื่องจากว่าย่านความถี่ต่ำนั้นคลื่นความถี่ค่อนข้างยาวมากกว่าความถี่อื่น (แม้ว่าเสียงจะเดินทางมาถึงเราพร้อมกัน) แต่ความถี่ต่ำก็มักจะเป็นมลพิษขึ้นมาได้เช่นกัน อาทิเกิดเสียงเบสบวมทั้งห้อง เสียงเบสเข้าไปกลบเสียงกลางแหลมเป็นต้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับวิธีการเสริมการใช้งาน การเซ็ตอัพที่เหมาะสมในแต่ละซิสเต็ม ผมจะขอนำมาบอกเล่าประสบการณ์ในตอนถัดไปเพื่อที่ว่าบทความในแต่ละตอนจะไม่ยาวเกินไป พบกันในในตอนที่ 5 ครับ
The Light of Audiophile ตอนที่ 3 การเล่นเครื่องเสียงโฮมยูสด์หลากหลายแนวทาง บทความแต่ละบท เริ่มต้นจากประสบการณ์ ความคิดของผมเอง ไม่ได้อ้างอิงตำราใดๆ เป็นหลัก แค่เหมือนคนที่ออกมาบอกเล่าประสบการณ์ในฐานะนักเล่นเครื่องเสียง ที่ไม่ใช่นักวิชาการ นะครับ ดังนั้นการอ่านจะพึงมีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อท่านทราบว่า ท้ายที่สุดของการเล่นเครื่องเสียง คือปลายทางที่เราได้ยินเสียงและมีความสุขเท่านั้น ไม่ได้ชวนท่านท่องตำรา หาเหตุผลทางหลักฟิสิกส์ ถ้าแบบนั้น ท่านสามารถศึกษาได้จากตำราต่างๆ ได้อยู่แล้ว ดังนั้น จึงต้องขออภัย ที่ศัพท์บัญญัติ ของผมในฐานะคนเล่นเครื่องเสียง จึงเป็นศัพท์เฉพาะตัว ไม่สามารถยึดเป็นหลักการสากลใดๆ ได้เลย แต่เป็นแนวทางหนึ่ง ที่คนเล่น สื่อสารถึงคนเล่นในแบบเดียวกัน เพื่อความเข้าใจง่ายนะครับ การเล่นเครื่องเสียงมีพัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่เสียงระบบโมโนMonophonic ช่องเสียงเดียว มาถึงระบบสองช่องเสียง Stereophonic และบางช่วงเวลาก็แผลงออกไปถึง Quadraphonic หรือระบบสี่ช่องเสียง (ที่ได้สูญสลายแนวทางไปแล้ว) ถ้าจะกล่าวว่า ส่วนที่เหลือคือ ทั้งระบบเสียงช่องเสียงเดียว และระบบสองช่องเสียงนั้น ในปัจจุบันความนิยมที่ถูกยอมรับเป็นสากลคือ ระบบสองช่องเสียง (ระบบสเตอริโอ) ระบบ Stereophonic ที่นักบันทึกเสียง (Recording) และคนฟัง (Playback) เห็นพ้องกัน มานานแล้ว ว่าพอเหมาะ พอควร สำหรับการแสดงผล ทั้งรายละเอียด การแยกแยะ การประสาน เวทีเสียง ตำแหน่ง และอิมเมจของเสียง เป็นที่ยอมรับได้ แม้สตูดิโอจะสามารถบันทึกเสียงดนตรี แยกแยะออกมาได้ ถึง 48 แชนแนล ในทางปฏิบัติ แต่ที่สุด Sound Engineer ก็จะต้องนำทั้งหมดมามิกซ์รวมกันให้เหลือเพียง 2 แชนแนล อยู่ดี ส่วนระบบโมโนนั้น จะอยู่ในกลุ่มนักเล่นวินเทจระดับไฮเอ็นด์ ที่ยังคงหลงใหลในเสน่ห์บางประการของช่องเสียงตรงๆ แบบแชนแนลเดียว เรามาทบทวน องค์ประกอบระบบเสียงมาตรฐาน Stereophonic ของโฮมออดิโอ นะครับ ที่ผมจะแยกออกเป็น สามส่วนหลัก และสองส่วนรอง คือ สามส่วนหลักได้แก่ 1. แหล่งโปรแกรม อันได้แก่ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นซีดี เครื่องรับวิทยุหรือจูนเนอร์ เทปรีล สตรีมเมอร์ ที่จะมีหน้าที่ในการป้อนสัญญาณอนาล็อก หรือดิจิตอล ให้กับภาคขยายอีกทีหนึ่ง ส่วนที่เครื่องเล่นบางประเภทจะไปแยกรายละเอียดของระบบเป็น ภาคปรีโฟโน ภาค DAC รองรับและถอดรหัสสัญญาณดิจิตอล ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 2. ภาคขยาย หรือ Amplifier ที่มีหน้าที่อยู่สองส่วน - ส่วนแรกคือ ภาคปรีแอมป์ Pre-Amplifier ที่จะนำเอาสัญญาณขนาดเล็กมาปรับแต่งให้เหมาะสม และคัดสรร จัดส่งไปยังภาค Power Amplifier หรือภาคขยาย สำหรับขยายสัญญาณให้ใหญ่ขึ้น พอเพียงที่จะขับเสียงลำโพงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ - ในภาคขยายสองส่วนหลักนี้ จะรวมกันหรือแยกกัน เพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาหรือปรับปรุงในวันข้างหน้าก็แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ออกแบบ ถ้ารวมกันเราเรียกว่า Integrated Amplifier นั่นเอง และถ้ามีการแทรกอุปกรณ์ปรับแต่งเสียงและย่านความถี่เข้าไป เราอาจจะมี Sound Processer หรือ Equalizer เสริมเข้าไปด้วย 3. ลำโพง ซึ่งก็จะมีการออกแบบที่พลิกแพลงแตกต่างกันไปตามรสนิยมของผู้ฟัง และไอเดีย หรือการแปลเจตนารมย์ เสียงดนตรีของผู้ผลิต ทั้งลำโพงตู้เปิด ลำโพงตู้ปิด ลำโพงแพสสีพเรดิเอเตอร์ ลำโพงแยกส่วน ลำโพงไร้ตู้ ลำโพงSub-satellite ลำโพงป้อนไฟฟ้า-อีเล็กโทรสแตติก และอื่นๆ ในรายละเอียดเรื่องนี้จะนำไปกล่าวกล่าวในส่วนที่เป็นเรื่องราวของลำโพงโดยเฉพาะ สองส่วนรอง ที่กล่าวถึงคือ 1. อุปกรณ์เพื่อการเชื่อมต่อ เช่นสายลำโพง สายนำสัญญาณ สายไฟ สายอากาศ สายอนาล็อก สายดิจิตอล 2. อุปกรณ์เพื่อการปรับแต่งภายนอกอาทิ ตัวรอง อุปกรณ์วางทับบนเครื่อง และอื่นๆ ที่อาจจะจัดให้เป็น แอกเซสซอรี่ ส่วนเสริม ทั้งหมดที่นำเสนอมานี้ ดูเหมือนว่าท่านผู้อ่านก็คงคิดว่าใครเค้าก็รู้ทั้งนั้น ละ? แต่ที่ผมอยากจะนำมาทบทวนอีกครั้งก็เพื่อให้เราได้เข้าใจว่า โดยระบบหลัก และระบบรองนี้ เราได้นำมาผสมผสานปรุงแต่ง แยกแยะ ออกไปด้วยวิธีการเล่นแบบใดบ้าง เพราะการเล่นเครื่องเสียงในระบบสเตอริโอโฟนิกนั้น ยังมีวิธีการเล่นที่แตกต่างหรือใช้เครื่องมือให้มีความสลับซับซ้อนออกไปอีก ดังจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ 1. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยว ยกตัวอย่างภาพให้เห็นง่ายๆ ก็คือ แอมป์หนึ่งเครื่อง ต่อสายลำโพงหนึ่งชุด แยกซ้ายขวาให้กับลำโพงหนึ่งคู่ นั่นคือ Stereophonic หรือ ในการเชื่อมต่อลำโพงจะใช้สายชุดเดียว หรือ Single Wired 2. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อน ด้วยการใช้สายลำโพงแยกออกเป็น 2 ชุด เพื่อแยกเสียงแหลม และเสียงทุ้มออกจากกันอย่างเป็นอิสระ สำหรับระบบลำโพงชนิด Bi-Wired วิธีการนี้หลายคนเชื่อว่าจะทำให้เสียงปลอดโปร่งและเข้าถึงรายละเอียดมากขึ้น แต่จุดอ่อน คือถ้าแอมปลิไฟล์คุณภาพไม่พอเพียงจะทำให้เกิดการผิดเฟสของเสียงได้ (Phase shift) 3. การเล่นในระบบสเตอริโอเชิงซ้อนด้วยการแยกแอมป์ ขับความถี่ เป็น 2 หรือ 3 ชุด หมายถึงต้องใช้แอมป์ 2 หรือ 3 เครื่อง แยกกันขับความถี่ให้กับลำโพง เป็น - ไบ-แอมป์ Bi-Amplification 2 ชุด - และไตร-แอมป์ Tri-Amplification 3 ชุด ลำโพงที่นำมาใช้ร่วมกัน ก็จะต้องแยกขั้วลำโพงออกเป็น 2 หรือ 3 ชุด ด้วยเช่นกัน ระบบนี้ จะไม่ใช่แค่เพียงแยกสายออกมาเป็นสองชุด สามชุด แต่จะแยกแอมป์ขับความถี่ ทุ้ม กลาง แหลม ออกจากกันไปด้วยเลย กล่าวได้ว่า ระบบ ไบ-แอมป์ หรือไตร-แอมป์ มีผลให้ก่อกำเนิดการออกแบบลำโพง Subwoofer แบบ passive ขึ้นมา โดยลำโพงซับวูฟเฟอร์ชนิดนี้จะต้องใช้แอมปลิไฟร์ ภายนอกมาขับเสียงย่านความถี่ต่ำเฉพาะ ระบบ Bi-Amplifications นี้ค่อนข้างที่จะมีความสลับซับซ้อนมาก และจะให้คุณภาพเสียง รายละเอียดเสียงในระดับที่สูงมากเช่นเดียวกัน เพียงแต่ในแต่ละช่วง ของการเชื่อมต่อ ย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ มีมาก่อนที่ระบบของซับวูฟเฟอร์จะพัฒนามาเป็นแบบบรรจุแอมปลิไฟล์เข้าไปในตัวตู้ เป็นแบบแอคทีฟซับวูฟเฟอร์ (Active Subwoofer) ระบบ Bi-Amplification หรือTri-Amplifications นั้น เพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ขับเสียง จะต้องรับสัญญาณผ่านมาจากตัวแอคทีฟ ครอสโอเวอร์ Active Crossover Network ที่มีหน้าที่ในการช่วยตัดแบ่งความถี่ ในแต่ละย่าน คือ High – Mid - Low ระบบนี้ เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเล่นประเภทไฮเอ็นด์ หรือออกแนวซีเรียสออดิโอ มาช้านาน แม้ปัจจุบันจะนิยมระบบสเตอริโอเชิงเดี่ยวธรรมดา แต่นักเล่นระดับลึกๆ ยังคงมีการเล่น Bi-Amplification อยู่ หรือลำโพงไฮเอนด์บางรุ่นบางแบรนด์ ก็ยังคงนำเอาระบบ แยกแอมป์ ขับโดยมีอีเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์ เป็นตัวตัดแบ่งความถี่มาใช้สำหรับแอมปลิไฟร์ เช่น B&W Nautilus เป็นต้น เป็นสิ่งที่น่าแปลกอยู่ไม่น้อยที่ระบบซึ่งใช้อิเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์ตัดย่านความถี่ สู่เพาเวอร์แอมป์หลายเครื่อง สำหรับขับลำโพงแยกกันดังกล่าวนี้ กลับมีใช้อยู่ในระบบเครื่องเสียงงาน Professional และเครื่องเสียงรถยนต์ มากกว่าเครื่องเสียงบ้าน การเล่นเครื่องเสียงปัจจุบันยังแบ่งออกเป็นการออกแบบระบบเสียงเฉพาะตัวอีก ระหว่างการเล่นเครื่องเสียงสเตอริโอ เชิงเดี่ยว เบสิก กับวิธี “การเสริมบน เสริมล่าง” ของย่านความถี่ นั่นคือ - เสริม Super Tweeter (เสริมบน) - เสริม Active Subwoofer (เสริมล่าง) บ้างก็เรียกวิถี การเล่นระบบเสียงออกเป็น ระบบ 2.0 Channel ระบบ 2.1 หรือ 2.2 Channel และไปไกลถึงการเสริม Active Subwoofer แบบ Stack Subwoofer สำหรับส่วนตัวผม เป็นคนเล่นเครื่องเสียงแบบยึดเอาความแฟลต สมจริง ใกล้เคียงเสียงดนตรีธรรมชาติ ไม่ได้มีความเห็นใดๆ ที่ขัดแย้งในวิธีการ ที่จะนำพาเราไปสู่ความสุขในเสียงดนตรีในทุกวิธีการ ถ้าตราบใด เสียงที่ย่านความถี่ใดขาดไป ไม่สมจริง เราก็สามารถเติมเต็มได้ จะต้องมานั่งคิดว่า มันผิดหรือถูก ไม่เหมือนคนอื่น เพื่ออะไรกัน เล่นเองก็ความสุขของตนเองครับ ใครจะมาทุกข์หรือสุขแทนเราได้ หรือถ้ามันพอดีอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสริมเข้าไปให้มันล้น หรือเกินจากความจริง สิ่งเหล่านี้ ต้องถามตัวเองมากกว่า สิ่งเหล่านี้ วัดได้จากประสบการณ์เกี่ยวกับคุณภาพเสียง และสเกลของเสียงเป็นสำคัญ ซึ่งเคยอธิบายในหัวข้อ Tonal Balanced ไปหลายครั้งแล้ว เพียงแต่ผมไม่อยากเรียกว่า เป็นระบบ 2.0 หรือ 2.1 , 2.2 เพราะปกติการมิกซ์เสียงในระบบStereophonic ไม่มีสตูดิโอไหน ทำการมิกซ์ ช่องเสียง .1 มาเป็นการเฉพาะ เหมือนการมิกซ์เสียงระบบเซอร์ราวด์ในภาพยนตร์ จึงสมควรเรียกว่า ระบบเสียงสเตอริโอ นี่ละครับ หรือจะเรียกว่า Stereophonic plus Subwoofer หรือ Stereophonic plus Super Tweeter ก็น่าจะกระจ่างชัดกว่า ผมไม่อยากกล่าวว่าการเล่นเครื่องเสียงด้วยวิธีการต่างๆ อะไรผิด อะไรถูก ทั้งซิงเกิ้ลไวร์, ไบร-ไวร์, ไบร์-แอมป์ เสริมซูเปอร์ทวีตเตอร์ เสริมซับวูฟเฟอร์ การวิพากษ์ วิจารณ์สิ่งใด ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดใจให้กว้าง อย่าใช้ความคิดที่คับแคบที่คอยทำให้เราคอยจำกัดตัวเองไปตลอด ทุกรูปแบบและวิธีการเล่นเครื่องเสียงนั้นไม่มีรูปแบบใดที่ถือว่าสมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ล้วนมีทั้งจุดอ่อนจุดแข็งที่จะต้องปรับแก้ไขให้สมบูรณ์แบบมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งที่ควรพิจารณามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของ.. วิถีทางใด ที่ “พอดี - พอใจ” สะดวก เหมาะสมสำหรับเรา นั่นละครับสำคัญที่สุด ทุกอย่างมีเหตุและผลรองรับอยู่ในตัวเองเสมอครับ โปรดติดตาม เรื่องราวเบื้องลึกในประสบการณ์เล่นเครื่องเสียงกันต่อไปครับ ซึ่งครั้งต่อไปจะมาแชร์ประสบการณ์ รูปแบบวิธีการเล่น จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาของ Single Wired, Bi-Wired, Bi-Amplifications, Stereophonic plus Sub-Woofer and Super Tweeter ขอบพระคุณ ที่ติดตามกันต่อเนื่องครับ
The Light of Audiophile ตอนที่ 2 กฏธรรมชาติ ไม่มีอะไรดีที่สุด ไม่มีอะไรแย่ที่สุด การพัฒนาการของเครื่องเสียงหรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบต่างๆ นานาไม่เคยหยุดนิ่ง ก็เพราะว่านักออกแบบทั้งหลายย่อมทราบถึง ความเป็นจริงที่ว่า ไม่มีอะไรเพอร์เฟ็ค โดยปราศจากจุดอ่อน ทุกอย่างที่เคยออกแบบมาในอดีตนั้นแม้ว่าจะดีที่สุดในความคิดไอเดียแล้ว แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง ที่สมควรแก่การแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ เมื่อมีการค้นพบสิ่งที่ดีกว่า วงจรภาคขยายจากคุณภาพเสียงระดับ “ให้พอได้ยิน” ก็กลายเป็น เข้าถึง “ความเป็นจริง” หรือ High Fidelity มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หลักวิศวกรรมเครื่องเสียงในเชิงอนาล็อกที่คิดค้นกันมานานนับศตวรรษอาจจะกล่าวได้ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่ง ไม่มีอะไรที่เรียกว่า วงจรใหม่ แต่เป็น “พื้นฐานวงจรเดิมที่ปรับปรุงพัฒนาใหม่” เท่านั้น วงจรขยายแบบคลาส A มีข้อดีตรงการทำงานของวงจรและอุปกรณ์ เป็นเชิงเดี่ยว ได้คุณภาพเสียงไหลลื่นไร้รอยสะดุด แต่มีอัตราสูญเสียเป็นความร้อนสูงเกินไป วงจรคลาส B ที่มีอุปกรณ์ทำงาน “เชิงคู่” ช่วยในการผลักดัน เหมือน “วิ่งผลัด” ทำให้ได้มาซึ่งกำลังขับสูง แต่เสียงจะออกในแนวหยาบ เต็มไปด้วยความเพี้ยนจุดรอยต่อ จึงไม่มีการนำมาใช้งาน วงจรคลาส A-B ที่พัฒนาต่อมา มีการจับคู่อุปกรณ์ แล้วทำการไบอัสกระแสน้อยๆ ที่อุปกรณ์ขยายให้พร้อมต่อการทำงาน ดังนั้นจึงเป็นวงจรที่ได้ทั้งกำลังขับและความเนียนละเอียดของเสียง ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา มีนักออกแบบหัวใสชาวอเมริกัน นาม บ็อบ คาร์เวอร์ ทำการออกแบบแอมป์ขยาย ในแบบสวิตชิ่งแอมป์ ที่มีการปรับการขยายออกเป็นสามระดับ เริ่มต้นแรงขยายต่ำ แรงขยายระดับกลาง และแรงขยายระดับสูง ระบบ Switching Power Supply ของ บ็อบ คาร์เวอร์ เรียกว่า แมกเนติคฟีลด์ ถือเป็นแนวคิดเริ่มต้นที่สามารถออกแบบแอมป์ ขนาดกำลังขับ 200 วัตต์ มีวงจรเล็กที่วางไว้ในฝ่ามือได้ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ต่อจากนั้นเป็นต้นมา ก็มีการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลแอมป์ อาจกล่าวได้ว่า แอมป์ยุคหลัง มีการปรับปรุงให้แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังเสียง อันมี คลาส D, คลาส G, คลาส H, คลาส T เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์และวงจรด้านอิเล็กทรอนิกส์ มีการพัฒนาขึ้นมามาก ทำให้ใช้วงจรขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เครื่องขยายคลาส D จะทำงานแบบลักษณะ Square wave ที่มีความกว้างที่เรียกว่า PWM (Pulse Width Modulation) ที่มีอัตราสูญเสียเป็นความร้อนน้อยลง แรกสุดดิจิตอลแอมป์ ให้เสียงแบบ “หยาบคายร้ายกาจ” เหมือนดังที่นักวิจารณ์เครื่องเสียงต่างแสดงความไม่พึงพอใจคุณภาพเสียงเป็นอย่างมาก แต่การพัฒนามานานกว่า 40 ปี ดิจิตอลแอมป์ก็สามารถ ลดจุดบอดต่างๆ ของวงจรดั้งเดิมแบบอนาล็อกและให้คุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับในที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มีการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ ความชอบหรือไม่ชอบ เป็นเรื่องของการพิสูจน์คุณภาพ ของสิ่งที่คิดค้นใหม่ทั้งหลายกันให้กระจ่างแจ้ง เราคงจำกันได้ว่า กล้องดิจิตอลที่ถูกคิดค้นมาใช้งานครั้งแรก ถูกต่อต้านขนาดไหน และปัจจุบันเป็นอย่างไร สิ่งที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้น ผมอยากนำเสนอแนวคิดที่ว่า ทุกรูปแบบ ทุกวงจร ทุกๆ อย่างในระบบลำโพง ทั้งแบบท่อเปิด ท่อปิด ท่อออกหน้า ท่อออกหลัง การออกแบบล้วนเป็นความพยายามลดจุดบอด เสริมจุดเด่นทั้งสิ้น เพียงแต่การเปิดใจรับนั้น เป็นเรื่องที่กำหนดลงไปไม่ได้ เพราะแม้ทุกสิ่งที่ดีในปัจจุบัน มันก็ยังมีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป เพื่อการเข้าถึงอุดมคติ หรือความเป็น High Fidelity ในโลกใบนี้ กฏธรรมชาติ อธิบายความจริงให้เราเรียนรู้ว่า ไม่มีอะไรดีที่สุด ไม่มีอะไรแย่ที่สุด เพียงแต่อะไรที่เหมาะสมกับเรา ในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงรสนิยมของแต่ละท่านจะตอบรับกับสิ่งใด กับเหตุผลที่อยู่ในใจของทุกท่าน
The Light of Audiophile ตอนที่ 1 ประทีปแห่งออดิโอไฟล์ เป็นคำถามที่น่าเครียดไหม อะไรคือเสียงดี? ผมอยากจะเขียนบทความแบ่งออกเป็นตอนๆ เกี่ยวกับเส้นทางสว่างที่เราจะเล่นเครื่องเสียงอย่างมีความสุข ซึ่งต้องเรียนเอาไว้ก่อนเป็นเบื้องต้นว่าเป็นหลักคิดส่วนตัวของผมเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องยึดเป็นแบบอย่าง ถือว่านี่ เป็นการแชร์ประสบการณ์ต่อแฟนคลับทุกท่าน คิดในทางที่ดีเอาไว้ก่อนคือเหมือนเราอยู่ในที่มืดและเรากำลังจะเริ่มเดินทาง มาช่วยกันจุดไฟแสงสว่าง ให้มีประกายมากพอเพียง ให้เป็นประทีปหลายดวง ที่จะนำพาเราไปสู่ความสุขของการเล่นเครื่องเสียง และบทความของผมก็เปรียบเสมือนประทีปดวงเล็กๆ เท่านั้น ขอให้ช่วยกันขยายความความคิดต่อๆ ไปครับ ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องใด เห็นจะต้องเริ่มจากคำว่าเสียงดี นี่ละครับก่อนอื่น ผมรับทราบปัญหาเกี่ยวกับเครื่องเสียงสารพัดคำถามทาง Messenger มากที่สุด และมากอย่างไม่น่าเชื่อว่า การเล่นเครื่องเสียง มันจะเต็มไปด้วยปัญหาอะไรมากมายขนาดนี้ เป็นมาตั้งแต่ยุคผมเขียนบทความ และเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารเครื่องเสียง นับถึงวันนี้ก็ 40 ปี สู่ยุคโซเชียล อะไรๆ ที่มันน่าจะลดลงมาบ้างในปัญหาเครื่องเสียง แต่กลับมีปัญหาทวีคูณมากขึ้นด้วยซ้ำ อย่างคำถามคลาสสิกที่ว่า เสียงที่ดีคืออย่างไร? อะไรคือคำว่า เสียงดี จะตอบเป็นรูปธรรมแสนยากยิ่งนัก ต่อให้ทำสัมมนา นั่งฟังด้วยกัน ก็ยังจะหาคำตอบยากอยู่ดีละครับ ผมว่าการที่มีสื่อโซเชียลมากขึ้น ก็มีข้อดีนะครับ ใครอยากจะหาข้อมูลก็สามารถเสิร์ชหาได้ มีเพจเครื่องเสียงมากมาย ให้พิจารณาวิเคราะห์ ทั้ง เว็บไซต์ เพจของนักเล่น กูรู ร้านค้า ค่อนข้างจะมากพอ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือ อ่านมาก ฟังมาก ก็มีโอกาสสับสน หลงทางได้มากเช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีหลักยึด หลักยึดที่ว่า คืออะไร ก็อยากให้เป็นข้อสังเกตเอาไว้สักเล็กน้อยครับว่า ถ้าจะเรียนรู้สิ่งใดนั้น คำว่าดี เสียงดีจะมีได้ก็ต่อเมื่อ 1. เริ่มต้นจากความรักชอบและประสบการณ์ตัวคุณเองเป็นหลัก คือถ้าไม่รู้ว่าตัวเองชอบสิ่งใดแล้ว เราจะไปควานหาจากสิ่งที่ชอบของคนอื่นนั้น มันจะได้อย่างไรเล่า ผมจึงชอบกล่าวคำว่า “ค้นพบตัวเองก่อน ค้นพบเครื่องเสียง” เสมอ ถ้าค้นพบเครื่องเสียงแล้วไม่พบตัวเองก็เปล่าประโยชน์ครับ เครื่องเสียงที่ดีสำหรับพวกเราทุกคน มักจะเริ่มต้นด้วยรูปทรงดีไซน์สวยงาม เคียงคู่ไปกับ คุณภาพเสียงอันถูกใจทั้งสองประการ ไม่ใช่แค่เฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น และการที่จะโฟกัสหาเสียงที่ดีนั้นต้องเริ่มต้นที่สไตล์เพลงของเรา และศิลปินคนโปรดของเราเท่านั้น โปรดทบทวนความคิดดีๆ ว่า หลักๆ นั้น เราฟังเพลงสไตล์ใด ศิลปินคนโปรดคือใคร เมื่อจะต้องใช้เวลาพูดคุย สอบถามจากผู้อื่น ก็หาผู้ที่ชอบแบบเดียวกัน เข้าใจแบบเดียวกัน ก็จะได้สานต่อ ขยายความในสิ่งนั้นๆ อย่างเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น สนทนากับผู้ที่ไม่ได้รักชอบในสิ่งเดียวกับเราก็เป็นการสูญเสียเวลาเปล่า และขอย้ำ ถึงหลักการที่ว่าสไตล์ความชื่นชอบและประสาทรับรู้ที่หูของเราย่อมเป็นหลักก่อนสิ่งอื่นเสมอ 2. ทางสายกลางแห่งการเรียนรู้ และแสวงหาประสบการณ์การฟังเครื่องเสียง เมื่อพื้นหรือรากฐานข้อแรก ของคุณแน่น แนวทางปฏิบัติเป็นเส้นตรง มีความแน่วแน่ ก็จงเริ่มเดินทางสู่ประสบการณ์ฟังให้ได้มาก และช่ำชองที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เหมือนตั้งใจเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่มีโอกาสเลือก มีโอกาสทดลองได้มากที่สุด แต่ในขณะที่มีเป้าหมายชัดเจนในใจมาแล้วนั่นเอง จะได้ไม่เขวทิศทาง เหมือนเดินเรือใน “ทะเลไฮไฟ” อาจจะมีทรัพย์สินในน้ำหลายหลากมากมาย ละลานตา ให้เลือกไขว่คว้า แต่ถ้าเข็มทิศ หรือเส้นทางคุณแม่น ก็จะไม่จมหายไปในทะเลนั้น จนกู่ไม่กลับ หรือไม่เลือกในสิ่งขัดแย้งกับความตั้งใจข้อแรกมา หลักคิดง่ายๆ คือไม่ว่าอะไรก็ตาม ที่เกินไปจากทางสายกลาง ก็ให้ยับยั้งชั่งใจเสียหน่อยครับ ที่สำคัญ อย่าวิ่งหลงเข้าไปแต่เฉพาะที่ ผลการตอบสนองความถี่ ฟังความถี่ เล่นกับความถี่ และฟังเสียงความถี่ หรือระดับความดังมากขึ้นของความถี่ใดความถี่หนึ่งโดยเฉพาะ ให้คำนึงว่า ถ้าต้นฉบับเพลงจากสตูดิโอที่พยายามบันทึก เสียงดนตรีให้เสมือนจริง เครื่องเสียงย่อมสมควรถ่ายทอดเสียงนั้นออกมาโดยเที่ยงตรงเสมือนจริงด้วย และโดยส่วนใหญ่ผู้บันทึกเสียงจะรักษาเนื้อความของดนตรีให้เป็นไปตามที่ศิลปินและโปรดิวเซอร์ต้องการ คือ Record มาดี Playback ก็ควรจะดีตามต้นฉบับ ไม่ใช่มากกว่า หรือด้อยกว่า ต้นฉบับ ระบบเครื่องเสียงทั้งซิสเต็ม ควรทำเสียงเหล่านั้น ออกมาให้สมบูรณ์แบบ สังเกตง่ายๆ มันจะเป็นความลงตัวมากกว่าโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น อะไรที่เกินพอดี แรกๆ คุณจะฟังสนุกตื่นใจ แต่จะฟังไม่ได้นาน ก็จะเริ่มเครียด และตามมาด้วยข้อตำหนิในใจมากมายและชัดเจนในที่สุดครับ 3. เลือกทุกสิ่งในขณะที่ใจผ่อนคลายเสมอ ต้องมีเวลาอย่างพอเพียง ไม่ใช่เคร่งเครียด มุมานะจนเกินงาม หรือเร่งร้อน วิถีชีวิตในปัจจุบันทำให้เราทุกคนมักจะเร่งร้อนในการเดินไปข้างหน้าและมักไม่ทบทวนอดีตในสิ่งที่เราผิดพลาดด้วย สิ่งเหล่านี้แหละที่ติดตัวเรามาจนกระทั่ง กลายเป็นพฤติกรรมในการเลือกซื้อเครื่องเสียงด้วย เอาเร็ว เอาไวเข้าว่า บางคนถึงขนาดซื้อเครื่องเสียงโดยอนุมานเอาจากความนิยมในสื่อโซเชียล และมักจะเป็นผู้ที่บ่นว่าไม่ค่อยมีเวลามาฟังจริงเพื่อเลือกเครื่องเสียง คือถ้าคุณไม่มีเวลา แล้วใครจะมีเวลาให้คุณ แล้วคุณจะเลือกสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างไร การเล่นเครื่องเสียงก็ไม่ใช่การที่จะเอาชนะอะไรซักอย่างหนึ่ง เหมือนเกมกีฬาที่ต้องต่อสู้กับใคร แต่สิ่งที่ต้องต่อสู้ก็คือความรู้สึกที่ถูกต้องของตัวเองเท่านั้น การทดลองฟังเครื่องเสียง การหาประสบการณ์จากร้านค้า จะเป็นบ้านเพื่อน หรือสถานที่ใดที่หนึ่ง แม้แต่งานแสดงเครื่องเสียง ต้องระลึกเสมอว่าการฟังเครื่องเสียง จะรับรู้ได้ถึงขนาด ตรงต้องกับใจหรือไม่นั้น ในแต่ละครั้ง ต้องมีระยะเวลาการฟังที่ยาวนานพอเพียงไม่ใช่แค่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว คือมันต้องมีระยะเวลาที่มากพอที่เรามั่นใจได้ว่าเครื่องเสียงชุดนี้ลำโพงคู่นั้น จะอยู่กับเราได้นาน แสนนานเช่นเดียวกัน “เวลา” จึงสำคัญที่สุด ถ้าแม้นปราศจากความชำนาญในการฟังมากเท่าไหร่ ก็สมควรที่จะใช้เวลาในการฟังมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เวลาและจำนวนครั้งที่ฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกกับบทเพลงที่คุ้นเคย และเป็นสไตล์ที่ชื่นชอบ อาจจะช่วยเราพิจารณาได้ว่าเครื่องเสียงหรือลำโพงชุดนั้นๆ จะคงอยู่กับการฟังเพลงของเราได้อย่างยาวนาน โปรดหยุดคิด สักพักหนึ่ง แล้วติดตามต่อในตอนที่สอง ถัดไปครับ